กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีไทยห่างไกลมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 66-L8300-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 11,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปภาวรินทร์ ทองสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 11,800.00
รวมงบประมาณ 11,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของสตรีไทย มีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งใน  สตรีไทย พบมากในสตรี อายุ 30–70 ปี ข้อมูลสถิติโรคมะเร็งของประเทศไทยในปี 2556-2558 (Cancer in Thai Vol. IX,2013-2015) จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเป็นอันดับ 1 ในเพศหญิง มีอุบัติการณ์ คือ 31.4 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2556-2560 พบอัตราตายด้วยโรคมะเร็งเต้านม ต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้นทุกปี คือ 9.9, 10.5, 11.3, 12.4 และ 12.6 ตามลำดับ ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 พบสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม จำนวน 4,177 คน หรือมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เสียชีวิตวันละ 11 คน การค้นคว้าหาสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคยังไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ ซึ่งโอกาสที่สตรีจะป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านมนั้น ก็ยังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมหรือดีที่สุดมาช่วย ดังนั้น การตรวจเต้านมอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เพื่อค้นพบก้อนที่น่าสงสัยตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นวิธีที่นำไปสู่การรักษาที่หายขาดได้นั้นจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 พบว่า สตรีไทยในเขตสุขภาพที่ 12 มีการคัดกรองเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 58.68 ได้รับการคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 62.39 ซึ่งจะเห็นว่าการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านมยังไม่ครอบคลุมและต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง ได้จัดทำโครงการสตรีไทยห่างไกลมะเร็งเต้านม เพื่อพัฒนาศักยภาพของ อสม. แกนนำ และสตรีอายุ 30- 70 ปี ให้มีความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ และพัฒนาระบบคัดกรองและเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งต้านม

สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

60.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในเรื่องมะเร็งเต้านมและ สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

มีระบบคัดกรองและเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม

3 เพื่อลดอัตราป่วย/ตาย ด้วยโรคมะเร็งเต้านม

เพื่อพัฒนาศักยภาพของ แกนนำ และสตรีอายุ 30- 70 ปี ให้มีความรู้และทักษะในการตรวจเต้านม ด้วยตนเอง (HL ทั้งการดูและการคลำ)

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 อบรมให้ความรู้ เรื่องมะเร็งเต้านม(1 พ.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00          
2 จัดระบบการดูแล ส่งต่อ และฟื้นฟูในรายที่มีความผิดปกติ ร่วมกับ โรงพยาบาลแม่ข่าย(1 พ.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00          
3 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง(1 พ.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00          
รวม 0.00
1 อบรมให้ความรู้ เรื่องมะเร็งเต้านม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 จัดระบบการดูแล ส่งต่อ และฟื้นฟูในรายที่มีความผิดปกติ ร่วมกับ โรงพยาบาลแม่ข่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ร้อยละ 80
  2. แกนนำ และสตรีอายุ 30- 70 ปี มีความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80
  3. มีระบบคัดกรองและเฝ้าระวังโรคมะเร็งเต้านม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 10:31 น.