กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ แผนงานการติดตามการดูแลสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์ ภายใต้โครงการกรมธรรม์ประกันติดบ้านติดเตียง ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ L3363-2566-2003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนเยียวยาผู้ป่วยติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 73,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปลอด ทองคง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอรวรรณ จันทรธนู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 294 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการมีอัตราติดบ้านติดเตียงจากโรคหลอดเลือดในสมองลดลง
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลบ้านหน้าและภาคีเครือข่ายประกอบด้วย รพ.ศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านนา สำนักธรรมนูญตำบลบ้านนา รพ.สต.บ้านลำใน กองทุนกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวตำบลบ้านนา ชมรมอาสาฉุกเฉินชุมชนตำบลบ้านนา กองทุนเยียวยาผู้ป่วยติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสตำบลบ้านนา และศูนย์ผู้สูงอายุและคนพิการตำบลบ้านนา ได้ขับเคลื่อนโครงการนวัตกรรมกรมธรรม์ประกันติดบ้านติดเตียงมาอย่างต่อเนื่อง จัดทำกิจกรรมกระบวนการต่างๆ ให้ผู้ป่วยเรื้อรังซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ทันกับโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้อง ความรวดเร็วรับการรักษาเมื่อมีอาการสัญญาณเตือนของโรค ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การดื่ม การออกกำลังกาย การพักผ่อน ความรวดเร็วในการส่งต่อรักษาของหน่วยกู้ชีพเมื่อได้รับแจ้งเหตุว่ามีผู้ป่วยที่บ่งชี้อาการสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง การสร้างตัวแทนประกันในการติดตามดูแลเฝ้าระวังผู้ถือกรมธรรม์ประกันฯ (ผู้เข้าร่วมโครงการ) อย่างสม่ำเสมอ การให้สิทธิ์ภายใต้เงื่อนไขการประกันเพื่อสร้างแรงจูงใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันจะทำให้อัตรากลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และอัตราการตายของโรคหลอดเลือดสมองลดลง

  กองทุนเยียวยาผู้ป่วยติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสตำบลบ้านนาได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานที่เกี่ยวกับการติดตามการดูแลสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์ (ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการ) จึงได้จัดทำแผนงานการติดตามการดูแลสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์ ภายใต้โครงการกรมธรรม์ประกันติดบ้านติดเตียง ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการมีอัตราการติดบ้านติดเตียงจากโรคหลอดเลือดในสมองลดลง

60

50.00
2 เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การดื่ม การออกกำลังกาย การพักผ่อน การกินยาและความรวดเร็วในการเข้ารับการรักษาเมื่อมีสัญญาณอาการเตือนของโรค

 

3 เพื่อส่งเสริมการสร้างอาสาในการติดตามดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

 

4 เพื่อส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้สิทธิ์ตามเงื่อนไขการประกันของโครงการ

 

5 เพื่อลดการสูญเสียที่อาจทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้

 

6 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและเทคนิคการติดตามดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนให้แก่ตัวแทนประกันกรมธรรม์ประกันติดบ้านติดเตียง

 

7 เพื่อจัดทำทะเบียนประวัติ / บันทึกสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์ / ผู้เข้าร่วมโครงการ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67
1 กิจกรรมที่ 1 ติดตามการดูแลสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์(1 เม.ย. 2566-31 มี.ค. 2567) 73,500.00                        
รวม 73,500.00
1 กิจกรรมที่ 1 ติดตามการดูแลสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 294 73,500.00 1 73,500.00
1 เม.ย. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมติดตามการดูแลสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์ 294 73,500.00 73,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ถือกรมธรรม์ (ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการ) สามารถควบคุมโรคเรื้อรังให้อยู่ในเกณฑ์หรือคงที่หรือมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ร้อยละ 50 ของผู้ถือกรมธรรม์ทั้งหมด
  2. ผู้ถือกรมธรรม์ / ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการมีอัตราการติดบ้านติดเตียงจากโรคหลอดเลือดในสมองลดลงหรือไม่มีเลย
  3. พูดถือกรมธรรม์ / ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองลดลงหรือไม่มีเลย
  4. ผู้ถือกรมธรรม์มีดัชนีมวลกายลดลงร้อยละ 10 ของผู้ถือกรมธรรม์ทั้งหมด
  5. ผู้ถือกรมธรรม์มีรอบเอวลดลงร้อยละ 10 ของผู้ถือกรมธรรม์ทั้งหมด
  6. ตัวแทนประกัน (จิตอาสา) มีความรู้ มีทักษะในการติดตามดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการได้อย่างถูกต้อง
  7. มีจิตอาสาในการติดตามดูแล ป้องกัน เฝ้าระวังผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
  8. สามารถบันทึกทะเบียนประวัติ / สมุดบันทึกสุขภาพสำหรับผู้ถือกรมธรรม์ได้อย่างครบถ้วน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 10:50 น.