กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Smart mom To Smart kid ตำบลบาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี
รหัสโครงการ 66-L3014-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราโหม
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 52,065.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวกรือซง ดาเสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.873,101.317place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion Prevention & Protection Excellence) ที่พัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย ส่วนหนึ่งเพื่อลดอัตราส่วนการตายของมารดาไทย เพราะการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นสภาวะเสี่ยงทางสุขภาพอย่างหนึ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาอัตราการตายของมารดาและทารกจะสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ตามนัด เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อการดูแลและให้คำแนะนำเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์นำไปปฏิบัติในการดูแลครรภ์ให้ถูกต้อง รวมทั้งร่วมจัดการความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์และทารก เพื่อให้การตั้งครรภ์ เป็นไปด้วยดีจนกระทั่งคลอด ทารกมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ พ.ศ ๒๕๖๓-๒๕๖๕ ในห้วงโควิคระบาท พบว่าหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์หลัง 12 สัปดาห์มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการสร้างกระแสในชุมชนลดลง ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ลดลงตามด้วย จึงทำให้มีผลต่อการฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และมีภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ขึ้นๆลงๆของทุกปี พร้อมกับให้กำเนิดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีผลการดำเนินงานที่ขึ้นๆลงๆ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ที่ต้องดำเนินการแก้ไขและพัฒนาต่อไป รวมทั้งการคลอดที่บ้านหรือ ผดบ.มีแนวโน้มสูงขึ้น ด้วยการด้วยความกลัวที่ต้องอยู่คนเดียวในห้วงโควิคที่ไปคลอด จึงเลือกที่จะคลอดกับ ผดบ.ซึ่งมีญาติใกล้ชิดดูแล และจากการสำรวจ เด็ก 0–5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป พบว่ามีปัญหาด้าย ภาวะโภชนาการของเด็กมีเด็กผอม และ เด็กเตี้ยสูงกว่าเกณฑ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำที่สุดในประเทศไทย เรื่องของวัคซีน พบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีน ปี ๒๕๖๕ มีแนวโนม้ต่ำมากเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก  ผลกระทบจากผลข้างเคียงของวัคซีนโควิค ที่ได้รับรู้จากช่องทางต่างๆ ทำให้ผู้ปกครองที่เคยพาบุตรหลานมารับวัคซีน ลดลงและกลัวผลข้างเคียงของวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟังและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง จากรายงานแม้ขนาดของปัญหาลดลง แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับภาคและระดับประเทศ จึงทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราโหม เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของเด็กแบบองค์รวมให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน และมีเป้าหมายที่จะให้เด็ก smart kids  จุดเริ่มต้นของความ smart kids คือต้องควบคู่ดูแลตั้งแต่การตั้งครรภ์ ของมารดาและผู้ปกครอง รวมทั้งชุมชน อันจะส่งผลให้เกิดการดูแลระยะยาวที่ต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราโหม        จึงจัดทำโครงการ Smart mom To Smart kid ตำบลบาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี พ.ศ ๒๕๖๖ โดยการส่งเสริมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ด้วยวิตามินแสนวิเศษ อบรมหญิงตั้งครรภ์เพื่อค้นหาบุคคลต้นแบบ (smart mom) ส่งเสริมให้เครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ พร้อมให้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วและต่อเนื่อง และเพื่อให้ความรู้เรื่องดังกล่าวแก่ผู้ปกครอง และส่งเสริมพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี ในเรื่องการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าระวังฟัน ภาวะทุพโภชนาการ และวัคซีน เพื่อสร้างเด็กให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามวัย เป็นพลเมืองสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66
1 โครงการ Smart mom To Smart kid ตำบลบาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี(1 พ.ค. 2566-31 พ.ค. 2566) 0.00  
2 โครงการ Smart mom To Smart kid ตำบลบาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี(1 พ.ค. 2566-31 พ.ค. 2566) 0.00  
รวม 0.00
1 โครงการ Smart mom To Smart kid ตำบลบาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 โครงการ Smart mom To Smart kid ตำบลบาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม
      2. เครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ พร้อมให้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วและต่อเนื่อง   3 ผู้ปกครองทราบและสามารถดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม     และครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน   4.เด็กอายุ 0-5 ปี มีสุขภาพที่ดีครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 12:02 น.