กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ แก้ปัญหาด้านโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลบ่อทอง "จัดอาหารให้น้องกิน 100 วันเพื่อสุขภาพดี ชีวิตยืนยาวนานถึง 100 ปี"
รหัสโครงการ 66-L7012-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนเรนทร์
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 74,390.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณัทพล ศรีระพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 74,390.00
รวมงบประมาณ 74,390.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 22 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 23 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการเหตุผล   ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับหายนะจากภัยแล้ง น้ำท่วม สงคราม โรคระบาด อากาศเปลี่ยแปลง สร้างความ อดอยากครั้งร้ายแรงที่สุด ที่ผลกระทบต่อผู้คนหลากหลายทุกกลุ่มวัยและส่งผลให้เด็กกว่า 40 ล้านคนเสี่ยงต่อการป่วย เป็นโรคขาดสารอาหารรุนแรงจากการประเมินภาวะโภชนาการเด็กทั่วโลกขององค์กรUNICEF ที่กำหนดเป้าหมายให้ เด็กทั่วโลกมีสุขภาพดีโดยทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ด้วยการช่วยกันแก้ไขภาวะแคระแกร็น และผอม แห้ง ในเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี ลดลง ภายในปี 2568 โดยกำหนดให้เด็กที่มีภาวะแคระแกร็นลดลงจากเดิมร้อยละ 40 และลดการเกิด ภาวะผอมแห้ง ในเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่เกินร้อยละ 5 และพบว่ามีเด็กประมาณ 23 ล้านคนทั่วโลกที่อายุน้อยกว่า 2 ปี อยู่ในภาวะผอม มากกว่าร้อยละ 50 ส่วนภาวะเตี้ยแคระแกร็น (Stunting) ในเด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี นั้นพบว่า มีจำนวน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากได้รับสารอาหารที่สำคัญไม่ตรงกับ ความต้องการของช่วงวัยการเจริญเติบโตอันจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ทีี่ไม่แข็งแรง เตี้ยแคระแกร็น เสี่ยงต่อระดับ เชาว์สติปัญญา ของเด็กโดยตรง เช่นการพัฒนาการทางสมอง การเรียนรู้ ระดับภูมิคุ้มกันจะทำให้  ติดเชื้อโรคได้ง่าย ขึ้นไปจนถึงการเสียชีวิตได้ขณะเดียวกันผลกระทบจากการระบาด ของโควิด-19 ก็มีผลต่อระบบอาหาร และการเข้าถึง โภชนาการที่ดีที่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งจากการต้องจำกัดด้านการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันของครอบครัวในช่วง วิกฤติดังกล่าว ทั้งยังกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวแล้วยังจะกระทบ ถึงประเทศชาติในอนาคตได้เช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเด็กที่ประสบกับปัญหาการได้รับโภชนาการอาหารที่ไม่ดีมักอาศัยอยู่ในชนบทหรือมาจาก ครัวเรือนที่ยากจนเมื่อเทียบกับครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเมืองและมีฐานะทางการเงินดีกว่า (https://www.sdgmove.com/2021/05/13/sdg-vocab-05-malnutrition/) และปัญหาทุพโภชนาการไม่เพียง มีมา จากสาเหตุจากพันธุกรรมเท่านั้น แต่ยังมาจากปัจจัยภายนอกอื่นเช่น ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจด้วย ดังเช่นที่องค์กรทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF)กล่าวว่า “เป็นผลมาจากความไม่มั่นคงทางอาหารและโภชนาการแล้วยังพบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่นการบริโภคอาหารท่ีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกายโดยมองถึง ความพอเพียงของอาหารการเข้าถึงอาหารและความมั่นคงทางอาหารทั้งในระดับบุคคล และระดับครัวเรือน การขาด บริการด้านสุขภาพจาก หน่วยงานที่ต่อเนื่องเช่นขาดการติดตามการเจริญเติบโต ของเด็กขาดการให้ความรู้ ทางด้าน โภชนาการแก่ผู้ปกครอง ขาดการดูแลแม่และเด็กที่เหมาะสมตลอดถึง การมีทรัพยากรไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิต เป็นต้น (https://www.sdgmove.com/2021/05/13 /sdg-vocab-05-malnutrition/)
จากปัญหาการเกิดภาวะโภชนาการที่ส่งผลต่ออนาคตการดำรงชีวิตของบุคคลดังกล่าวเช่นด้านการเจริญ เติบโตทางด้าน ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา การทำงาน การสร้างรายได้บุคคล ของครอบครัวผู้นั้นได้ และการทบถึง ระบบเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับโลก จึงและจำเป็นต้องมีการส่งเสริมโภชนการตั้งแต่แรกเกิด เพราะการเจริญ เติบโตของเด็กแรกเกิด–5ปี เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด ดังจะเห็นได้ จากการสร้างข้อตกลงความร่วมกันของประเทศต่างๆในการแก้ไขปัญหาภาวะทุพพลภาพที่เกิดขึ้นเช่นจากการประชุมของสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 65 เมื่อปี 2012 ที่สมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรอง WHA Global Nutrition Targets 2025 คือได้วางเป้าหมายงานโภชนาการระดับโลก ให้สำเร็จปี พ.ศ. 2568
สภาพปัญหา สำหรับประเศไทยนั้นก็ได้ประสบปัญหาด้านโภชนการถึงขั้นรุนแรงมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะในเด็กแรก เกิด - 5 ปี ซึ่งพบว่าสาเหตุหลักส่วนใหญ่นั้น ไม่ได้เกิดจากการขาดอาหารแต่เกิดจากการได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า ทางอาหารไม่เพียงพอหรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันก่อให้เกิดความเสี่ยงการต่อการเจริญเติบโตตาม ช่วงวัยกระทบต่อระดับเชาว์ปัญญาที่ต่ำ ก่อให้เกิดโรคขาดสารอาหารมีภาวะเตี้ย แคระแกร็น ผอมแห้งโดยมีข้อมูล ด้านสถานการณ์ปัญหาทุพโภชนาการในประเทศไทยในเด็กอายุ 0 - 5 ปี โดยปี 2562 พบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการ เตี้ย คิดเป็นร้อยละ 10.60 อ้วนคิดเป็นร้อยละ 9.10 และผอมคิดเป็นร้อยละ 5.60 นั่นคือหรือเด็กจำนวน 1 ใน 10 คน ของเด็กปฐมวัยไทย มีภาวะเตี้ยหรืออ้วน (https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/123961/)
สำหรับเด็ก 0-5 ปีในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนเรนทร์ จังหวัดปัตตานี ประจำ ปีงบประมาณ 2566 (ไตรมาสที่ 1)พบว่ามีจำนวน 183 คน และมีข้อมูลพื้นฐานโดยพบเด็กมีปัญหาภาวะ ทุพโภชนาการ จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 28.96 ซึ่งจำนวนเด็กเสี่ยง 53 คนดังกล่าวนี้ สามารถแยกที่มา ของภาวะทุพโภชนาการจากการ เปรียบเทียบได้ 3 ค่าที่สำคัญ ดังนี้
(1) ค่าน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ พบว่า (1.1) เด็กน้ำหนักน้อย จำนวน  19 ราย (ร้อยละ 10.38) (1.2) น้ำหนัก ค่อนข้างน้อย จำนวน 13 ราย (ร้อยละ 7.10)
(2) ค่าน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง พบว่า (2.1) เด็กผอม มีจำนวน 9 ราย (ร้อยละ 4.92) (2.2) เด็กค่อนข้างผอม มีจำนวน 11 ราย (ร้อยละ 6.01, ในระดับประเทศ ร้อยละ 5.60)
สรุปรวมจำนวนเด็กที่เสี่ยงดังกล่าว (หักรายชื่อเด็กซ้ำ/ คนเดียวกัน) ที่มีน้ำหนักน้อยและผอม มีจำนวน  15 ราย (ร้อยละ 8.19) และเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยและค่อนข้างผอม มีจำนวน 18 ราย (ร้อยละ 9.83) (3) ค่าส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ พบว่า (3.1) พบเด็กเตี้ย มีจำนวน 25 ราย (ร้อยละ 13.66, ในระดับประเทศ ร้อยละ 10.60) (3.2) เด็กค่อนข้างเตี้ย มีจำนวน 13 ราย (ร้อยละ 7.10)
สรุปรวมจำนวนเด็กที่เสี่ยงดังกล่าว (หักรายชื่อ เด็กซ้ำ/คนเดียวกัน) พบว่าเด็กเตี้ย มีจำนวน 13 ราย (ร้อยละ 7.10) และพบเด็กค่อนข้างเตี้ย จำนวน 7 ราย (ร้อยละ 3.82)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ให้มีความรู้ เห็นความสำคัญของงานโภชนาการต่อสุขภาพเด็กและสามารถประยุกต์และพัฒนาจัดการอาหารในครัวเรือนอย่างเหมาะสมกับวัยเด็ก 0-5 ปี

 

80.00
2 เพื่อเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 41.51 (22 คน จาก 53 คน) ได้รับอาหารเสริมตามขนาด และจำนวนวันที่กำหนด

 

80.00
3 เพื่อให้เด็กที่ได้รับอาหารเสริมร้อยละ 100 (22 คน)ได้รับการแก้ไขด้านสุขภาพให้เข้าสู่ภาวะโภชนาการในระดับปกติ ร้อยละ 25 ในไตรมาสที่ 4

เด็ก 0 - 5 ปีท่ีี่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ในเขตรับผิดชอบมีภาวะโภชนาการเข้าสู่ภาวะปกติ
      ≥ ร้อยละ 25 ในไตรมาสที่ 4

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ประชุมเชิงปฏิบัติการและให้ควาามรู้(17 ก.ค. 2566-31 ก.ค. 2566) 12,790.00            
2 เยี่ยมบ้าน(1 ส.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 61,600.00            
3 ติดตามและประเมินผล(1 ก.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00            
รวม 74,390.00
1 ประชุมเชิงปฏิบัติการและให้ควาามรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 12,790.00 1 12,790.00
24 - 31 ก.ค. 66 ประชุมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 45 12,790.00 12,790.00
2 เยี่ยมบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 22 61,600.00 1 61,600.00
1 - 31 ส.ค. 66 ติดตามเยี่ยมบ้าน 22 61,600.00 61,600.00
3 ติดตามและประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 0.00 1 0.00
1 - 30 ก.ย. 66 ติดตามและประเมินผล 45 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

วิธีดำเนินการ   1 ขั้นเตรียมการดังนี้       1.1สำรวจข้อมูลเด็ก ช่วงอายุ 1 ถึง 5 ปี ทุกคน เพื่อทราบจำนวนที่มีปัญหาภาวะทุพ โภชนาการ       1.2การประเมินภาวะสุขภาพเด็กได้แก่เด็กซีดโดยตรวจระดับความเข้มข้นของเลือด และให้รับประทานยาถ่ายพยาธิ (Albendazole) จำนวน 3 วัน เนื่องจากที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะทุโภชนาการ       1.3การจ่ายยาบำรุงโลหิต ขนาดยาธาตุเหล็ก (ความเข้มข้น 15 mgFe/0.6ml, 15ml/bottle)       1.4 ทำแผนงานในการจัดอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และผู้ดูแลเด็ก(พ่อ แม่ ผู้ปกครอง)       1.5 ทำแผนเยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามประเมินข้อมูลทั่วไป ข้อมูลผู้ปกครอง ข้อมูลเด็กโดยการให้ความรู้ ปรับพฤติกรรมการดูแลเด็กอย่างถูกต้อง และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ       1.6 นำโครงการแก้ปัญหาเข้าวาระการประชุมสภาประชาธิปไตย/คณะกรรมการพัฒนาตำบลบ่อทอง เพื่อทราบและสนับสนุนการดำเนินงาน
      1.7 จัดทำโครงการแก้ปัญหาโดยของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานโคงการในการแก้ไขปัญหา  ภาวะ ทุพโภชนาการ ต่อประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ่อทอง
    2. ขั้นดำเนินการดังนี้
  2.1 จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าสาธารณสุข อสม. ผู้ปกครองเด็กในประเด็น โภชนาการในเด็ก มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
    2.2 ความรู้โภชนศาสตร์ในเด็กเล็กแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ     2.3 การสาธิตการจัดเมนูอาหารเพื่อพัฒนาโภชนาการ
    2.4 การใช้หลักการพฤติกรรมบำบัด สำหรับแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะรับประทานอาหารยาก
    2.5 การสนับสนุนอาหารเสริมที่อุดมด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูงแก่ เด็กที่มีภาวะ ทุพโภชนาการได้แก่ไข่ 2 ฟอง และนมกล่องวันละ 2 กล่อง/เด็ก 1 คน/ วัน จำนวน 100 วันติดต่อกัน และการจ่ายยารับประทานรักษาภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Hct

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 12:31 น.