กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกินเป็นไกลโรค ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3312-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 11,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภานุวัฒน์ พรหมสังคหะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด
133.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวเช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่้งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอกระจกตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุรภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม รพ.สต.บ้านท่าควายได้ดำเนินการสาธารณสุข จัดให้มีการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่รับผิดชอบ 4 หมู่บ้านในปี 2566 เน้นการเสริมสร้างความรู้และทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 133 คน ควบคุมโรคได้ดี 27 คน คิดเป็นร้อยละ 20.30 จากเกณฑ์เป้าหมายตัวชี้วัด ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 เกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.01จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย เนื่องจากยังขาดความรู้ และขาดการจัดการพฤติกรรมที่เหมาะสม
เพื่อให้มีการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในคลินิกโรคเรื้อรังและในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านท่าควาย เป็นแบบองค์รวม ส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเอง สามารถควบคุมพฤติกรรมของโรคได้ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพที่ดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30

30.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันได้ดี ความดันน้อยกว่า 140/90

กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,220.00 3 11,220.00
8 พ.ค. 66 1. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการNCD Clinic ร่วมกับแกนนำ อ.ส.ม. 4 หมู่บ้าน จำนวน 25 คน 0 1,250.00 1,250.00
11 - 12 พ.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และทักษะการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน , กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 50 คน 0 5,000.00 5,000.00
11 - 12 พ.ค. 66 กิจกรรมอาหารสาธิต -กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 0 4,970.00 4,970.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 13:08 น.