กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลลำพะยา รุ่นที่ 4 ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66 - L4140 - 2 - 14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 140,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านทำเนียบ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,101.162place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของประชากรสูงอายุทั่วโลก ส่งผลให้ในปี ค.ศ.2050 โลกของเราจะมีจำนวนประชากรสูงอายุมากถึง 2,000 ล้านคน และนับเป็นครั้งแรกที่ประชากรสูงอายุจะมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาจะเป็นประเทศที่มีประชากรสูงอายุกว่าร้อยละ 80  ซึ่งส่งผลให้ประเทศเหล่านี้เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ดังนั้นจึงได้มีความพยายามระดับโลก ในการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ ซึ่งอาจมีการเติมเต็มคุณภาพชีวิตการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ

  ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ อันเป็นมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น การที่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ครอบครัว ต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีวิต รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความพิการหรือทุพพลภาพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่นๆ ของรัฐ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีภารกิจโดยตรงในการดูแลผู้สูงอายุ

  องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา ได้ร่วมกับผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุ ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณค่า เป็นแบบอย่างของการดำเนินชีวิตที่ลูกหลานควรจะได้เรียนรู้ สั่งสมเรื่องราวต่างๆ ที่มากด้วย

ประสบการณ์และภูมิปัญญา ได้แสดงศักยภาพและภูมิปัญญาต่อสังคม สามารถสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคมได้อย่างเปี่ยมล้น และเพื่อเป็นการต่อยอดแนวความคิดให้เป็นรูปธรรม จึงขอจัดตั้ง “โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลลำพะยา  รุ่นที่ 4” ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นดังปณิธานที่ว่า “กินอิ่ม นอนอุ่น สุขใจ มีรายได้ ปลอดภัยจากโรคและอุบัติภัย”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลลำพะยา

 

2 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

 

3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนสังคม

 

4 เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ

 

5 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดต่อไป

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ(1 พ.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 140,000.00          
รวม 140,000.00
1 จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 140,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดอบรมให้ความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ 60 140,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้สูงอายุและประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลลำพะยา ได้มีการพัฒนาตนเองโดยการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2 ผู้สูงอายุและประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลลำพะยา มีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และ     สังคม

3 ผู้สูงอายุและประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลลำพะยา ได้สร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนสังคม

4 ผู้สูงอายุและประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลลำพะยา ได้เสริมสร้างคุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ     ให้เป็นให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ

5 ผู้สูงอายุและประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลลำพะยา ได้เสริมสร้างภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น     ให้ดำรงสืบทอดต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 13:18 น.