กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รหัสโครงการ 66-L7256-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองควนลัง
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 342,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมมารถ จิตรพัฒนากุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,100.421place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 342,000.00
รวมงบประมาณ 342,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
50.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลก่อนตั้งครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตามคำกล่าวที่ว่าลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย อย่างมีคุณภาพ ซึ่งผลจากการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ในปีที่ผ่านมาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคที่สามารถป้องกันและดูแลได้หากได้รับการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งหากได้รับคำแนะนำในเรื่องการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ การได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่เหมาะสม สามารถส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์และยังสามารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของแม่ ตลอดจนความฉลาดทางสติปัญญา ( IQ ) ของเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มลดลง ซึ่งปัจจัยที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของแม่ ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ เช่น ขาดไอโอดีน ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ หรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภาวการณ์คลอดก่อนกำหนด ภาวะโรคต่าง ๆ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของ อาสาสมัครแกนนำสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง ในพื้นที่ในการประสานงาน การติดตาม การเฝ้าระวังของหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับความปลอดภัย
เทศบาลเมืองควนลัง ได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ เพื่อแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็ก ในปี พ.ศ. 2565 มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ 167 คน จากจำนวนที่ตั้งเป้าหมายไว้ 200 คน คิดเป็นร้อยละ 83.5 ของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ ผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานพบว่าอัตราหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 51.45 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 53.89 มีภาวะโลหิตจาง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 13.17 หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน  31 คน คิดเป้นร้อยละ 18.56 มีภาวะคลอดก่อนกำหนดจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.19 ดังนั้น เพื่อให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลเมืองควนลัง ในการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทศบาลเมืองควนลังจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่รับผิดชอบของการดูแลอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และมีการต่อเนื่องในการส่งเสริมสุขภาพ จึงได้นำปัญหาจากการดำเนินงานมาพัฒนาและแก้ไข อย่างมีระบบเพื่อลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และอัตราการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกวิธีการคลอด รวมทั้งส่งเสริมให้อาสาสมัครแกนนำสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานแบบเชิงรุกติดตามเยี่ยมและส่งเสริมการให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมทุกระยะของการตั้งครรภ์ ส่งเสริมด้านโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถป้องกันได้เช่นภาวะคลอดก่อนกำหนด หากผู้ดูแล ครอบครัวและหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเข้าใจจะสามารถป้องกันได้ ดังนั้น งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริการสาธารณสุข จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 25๖6” ขึ้นโดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง เป็นเงิน 342,000.- บาท (เงินสามแสนสี่หมื่นสองพันบาทถ้วน)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

50.00 200.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

90.00 200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถประชาสัมพันธ์และการสร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ให้กับประชาชนในพื้นที่
    1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำไปดูแลตนเองในการประเมินภาวะแทรกซ้อนตามระยะของการตั้งครรภ์ตลอดจนมีการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    2. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมทารกแรกเกิดมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 2,500 กรัม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 14:14 น.