กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี๊ดี ไม่มีเหา
รหัสโครงการ 66-L1497-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเพาะปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 15 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2566
งบประมาณ 25,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารี สุขมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 15 ก.ย. 2566 25,940.00
รวมงบประมาณ 25,940.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสําคัญ ที่จะทําให้นักเรียนมีการเจริญเติบโตตามวัย และมีความพร้อม ในการศึกษา เพราะหากร่างกายไม่สะอาดก็จะก่อเกิดปัญหาสุขภาพตามมา ส่งผลกระทบต่อการเรียนได้ ซึ่งปัญหา เรื่องเหาในนักเรียน
เป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อย และมีสาเหตุมาจากการักษาความสะอาดของร่างกายไม่ดีพอ เมื่อเป็นเหา นักเรียนและผู้ปกครองก็ไม่มีทักษะที่ถูกต้องในการจัดการปัญหาเรื่องเหา ทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก อาศัยบนศีรษะเพื่อดูดเลือดเป็นอาหาร เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหญิง อายุระหว่าง ๔-๑๔ ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรําคาญ ทําให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม รวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง ได้ด้วย โดยนักเรียนที่เป็นเหา มักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี ถึงแม้ว่าเหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่าย ด้วยการดูแลรักษา ความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ําเสมอ รวมถึงการที่นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการจัดการเหา การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน ที่จะได้ผลยั่งยืน คือ การให้ความรู้แก่นักเรียน
ผู้ปกครอง อย่างถูกต้อง มีทักษะในการจัดการเหาอย่างถูกต้อง และดําเนินการอย่างต่อเนื่อง การร่วมกันค้นหาเด็กที่มีเหา และแก้ไขปัญหาโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม จะเป็นหนทางไปสู่ความสําเร็จในการแก้ไขปัญหานี้ได้ จากความสําคัญของปัญหาดังกล่าว โรงเรียน เพาะปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ จึงได้จัดทําโครงการ “นักเรียนวัยใส อนามัยที่ดี ไม่มีเหา” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ในการแก้ปัญหาโรคเหาในวัยเรียน

ร้อยละ ๙๕ ของนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาเรื่องเหา

2 เพื่อสร้างการส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาเรื่องเหาในนักเรียน

ร้อยละ ๙๕ ของนักเรียน และผู้ปกครอง มีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาเรื่องเหา

3 เพื่อก๋าจัดและควบคุมการระบาดของโรคเหาในนักเรียน

ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกําจัดเหา และหายจากการเป็นเหาไม่กลับมาเป็นซ้ำ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 25,940.00 0 0.00
1 พ.ค. 66 - 15 ก.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการ 70 25,940.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการดูแลศีรษะ และการกําจัดเหาที่ถูกวิธี
  2. ปัญหาการระบาดของเหาในนักเรียนลดลง 3.นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น มีบุคลิกภาพดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 14:19 น.