กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมารดาหลังคลอดและหญิงให้นมบุตรสุขภาพดีด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L1497-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 8,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 8,200.00
รวมงบประมาณ 8,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) เป็นวิถีการดูแลสุขภาพของคนไทยที่สอดคล้อง กับวัฒนธรรมประเพณีไทย มีการใช้สมุนไพรทั้งในรูปแบบอาหาร และยา ใช้ในการอบ การประคบ การนวด การแพทย์แผนไทย มีการวินิจฉัยโรคเป็นแบบความเชื่อแบบไทย มีองค์ความรู้เป็นทฤษฎี โดยพื้นฐานทางพุทธ ศาสนา ผสมกลมกลืนกับความเชื่อ ทางพิธีกรรม มีการเรียนการสอน และการถ่ายทอดความรู้ อย่างกว้างขวาง สืบทอดมายาวนานหลายปี ภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพของการแพทย์พื้นบ้านอย่างลุ่มลึก จะช่วยดึง สิ่งที่ยังเหมาะสมกับยุคสมัย มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะนําไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ การผสมผสาน ระบบการแพทย์พื้นบ้านสู่ระบบสุขภาพไทยอย่างเหมาะสม การดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด เป็นวัฒนธรรม ของท้องถิ่นในทุกภูมิภาคของประเทศ ในภาคใต้ พบว่ามีการใช้ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย ในการดูแล สุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และหญิงให้นมบุตร ช่วยในการการเตรียมตัว ให้แม่คลอดง่าย และมี การดูแลหลังคลอดด้วยการอยู่ไฟโดยใช้ก้อนเส้า       จากข้อมูลจากสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนาโยงใต้ พบว่ามารดาหลังคลอด และ หญิงให้นมบุตรในตําบลนาโยงใต้ ส่วนใหญ่มีอาการปวดหลัง เนื่องจากการนั่งให้นมลูกนานๆ อีกทั้งยังพบว่า มารดาหลังคลอดมีพฤติกรรมการรับระทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ทําให้มดลูกเข้าอู่ช้า ซึ่งกลุ่มเหล่านี้อาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังตามมา หากไม่มีวิธีที่จะช่วยบรรเทาหรือลดอาการเจ็บปวด       จากความสําคัญของปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ตําบลนาโยงใต้ จึงได้จัดทํา “โครงการมารดาหลังคลอดและหญิงให้นมบุตรสุขภาพดี ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยปีงบประมาณ ๒๕๖๖” ขึ้น เพื่อให้มารดาหลังคลอดและหญิงให้นมบุตร ได้รับการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย การทับหม้อเกลือ อบสมุนไพร การประคบเต้านม ได้รับการฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฟื้นฟู และส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด และหญิงให้นมบุตรด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

มารดาหลังคลอด และหญิงให้นมบุตรได้รับการฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

2 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในมารดาหลังคลอดและหญิงให้นมบุตร

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 15 8,200.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมให้หญิงหลังคลอดและหญิงให้นมบุตรได้รับการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย การทับหม้อเกลือ อบสมุนไพร การประคบเต้านม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ตัวชี้วัดที่ 1 15 8,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มารดาหลังคลอด และหญิงให้นมบุตร ได้รับการคัดกรองและดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย
  2. มารดาหลังคลอด และหญิงให้นมบุตร ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการบำบัด ฟื้นฟูสุขภาพโดยการแพทย์แผนไทย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 14:22 น.