กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟู และส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการอบสมุนไพร ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L1497-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 25,295.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 25,295.00
รวมงบประมาณ 25,295.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย ทั้งทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทย เป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพ ของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และ ในอนาคต ปัญหาสุขภาพมีทิศทางเปลี่ยนไป จากเดิม กล่าวคือประชาชนมีการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น ทั้งนี้สาเหตุอาจมาจากการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม จากรุ่นสู่รุ่น และจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่สมดุล เช่นพฤติกรรมการกิน พฤติกรรม การออกกําลังกาย เป็นต้น คลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนาโยงใต้ ให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ผู้เข้ารับบริการมีความหลากหลายทาง กลุ่มอายุและสภาพปัญหาสุขภาพ จากสถิติพบว่าผู้เข้ารับบริการที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีอัตราการเข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับอัตราป่วยจากโรคดังกล่าวที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน การเฝ้าระวัง ป้องกัน และฟื้นฟู ภาวะแทรกซ้อนจากโรค ดังกล่าว ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะทําให้ผู้ป่วยและญาติ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืนยาวได้ การอบสมุนไพร เป็นวิธีการบําบัดรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพ ตามหลักของการแพทย์แผนไทย ศาสตร์หนึ่ง ใช้การต้มสมุนไพรหลายๆ ชนิดรวมกัน ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรที่มีน้ํามันหอมระเหยและสมุนไพร รักษาตามอาการ สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวนํามาต้มจนเดือดในน้ํา ไอน้ํา น้ํามันหอมระเหย และสารระเหยต่างๆ สูดดมเข้าไปกับลมหายใจ มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและผลทั่วร่างกาย ช่วยขับของเสียออกทางผิวหนัง ผ่านเหงื่อ ลดอาอาการหวัด ภูมิแพ้ ช่วยให้มดลูกของมารดาหลังคลอดเข้าอู่เร็ว บรรเทาอาการปวดเมื่อย บรรเทาเหน็บชาต่างๆ รวมถึงช่วยให้รู้สึกสดชื่น ทําให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น และช่วยลดความดันโลหิต เพราะเส้นเลือดขยายออก ทําให้ระบบไหลเวียนโลหิต สามารถทํางานได้ตามปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด การไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้น เป็นผลดีทั้งในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมถึงประชาชนทั่วไป จากความสําคัญของปัญหา และผลดีของการอบสมุนไพรต่อสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนาโยงใต้ จึงได้จัดทําโครงการฟื้นฟู และส่งเสริมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง ด้วยการอบสมุนไพร ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ขึ้น เพื่อฟื้นฟู และส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases : NCD) ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน โดยการอบสมุนไพร เพิ่ม ขีดความสามารถ ในการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนาโยงใต้ ด้วยอุปกรณ์ ทางการแพทย์ที่มีความทันสมัย และเพียงพอ ส่งผลดีต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและจําแนกประเภท ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน

ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน ได้รับการคัดกรอง

2 เพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีภาวะเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน ด้วยการอบสมุนไพร

ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรค แทรกซ้อน ได้รับการ บําบัดโดยวิธีการแพทย์แผนไทย รูปแบบการอบ สมุนไพร ครบถ้วน และต่อเนื่อง

3 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

อัตราการเกิด ภาวะแทรกซ้อน ใน ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีภาวะเสี่ยงฯ ลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 25,295.00 0 0.00
11 พ.ค. 66 จัดบริการการฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200 25,295.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน ได้รับการคัดกรองและดูแลตามแนวทาง
  2. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน ได้รับการฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพด้วยรูปแบบการอบสมุนไพร
  3. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน ที่ได้รับการบําบัดโดย รูปแบบการอบสมุนไพร มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 14:27 น.