กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเลปโตสไปโรซิส ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1497-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 20 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2566
งบประมาณ 19,670.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี สุขมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) พบมากในหน้าฝนและในพื้นที่ที่มีน้ําท่วมขัง โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งในคนและสัตว์ การติดเชื้อในคนมีสาเหตุมาจากการสัมผัสดิน น้ํา อาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีเชื้อ เช่น หนู วัว ควาย ผู้ติดเชื้อบางรายจะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย มีเพียงประมาณ 10-15% ที่จะมีอาการรุนแรง เมื่อเชื้อโรคเลปโตสไปโรซิสเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปยัง อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย บางรายมีอาการเร็วภายใน 2 วัน บางรายอาจนานหลายสัปดาห์หรืออาจจะถึง 1 เดือน โดยส่วนใหญ่ จะเริ่มมีอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ สถานการณ์ประเทศไทยจากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 13 กุมภาพันธ์ 2566 มีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส จานวน 108 ราย อัตราป่วย 0.31 ต่อแสนประชากร ยังไม่มี รายงานผู้เสียชีวิต สถานการณ์ของเขต 12 มีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส จํานวน 84 ราย อัตราป่วย 1.68 ต่อแสน ประชากร ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต สถานการณ์จังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 13 กุมภาพันธ์ 2566 มีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส จานวน 15 ราย อัตราป่วย 2.35 ต่อแสนประชากร ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต อําเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ อําเภอหาดสําราญ อัตราป่วย 5.93 ต่อแสนประชากร รองลงมาคืออําเภอสิเกา อัตราป่วย 5.20 ต่อแสนประชากร และอําเภอกันตัง อัตราป่วย 4.62 ต่อแสนประชากร ตามลําดับ อําเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีรายงาน โรคเลปโตสไปโรซีส จํานวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.64 ต่อประชากร แสนคน ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต สําหรับตําบลนาโยงใต้ มีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีสในปี พ.ศ.2565 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565) จํานวน 2 ราย อัตราป่วย 49.79 ต่อแสนประชากร จากการวิเคราะห์สถานการณ์โรค พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะอยู่ในกลุ่มอายุ 15-54 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยเรียนและวัยทํางาน การดําเนินงานควบคุมและป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส ให้ประสบผลสําเร็จ และเกิดประสิทธิภาพนั้น จําเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และร่วมมือกัน ในการควบคุม ป้องกันโรคที่ยั่งยืน โดยประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดําเนินงาน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ตําบลนาโยงใต้ ตระหนัก และเห็นความสําคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทําโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเลปโตสไปโรซิส ปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมไม่ให้มีผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส รายที่ ๒ ภายใน ๒๐ วันหลังพบผู้ป่วยรายแรกในหมู่บ้าน

ตัวชี้วัดที่ ๑ หมู่บ้านควบคุมไม่ให้มีผู้ป่วยรายที่ ๒ ภายใน๒๐วัน หลังพบผู้ป่วยรายแรก ร้อยละ ๘๐

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิส

ตัวชี้วัดที่ ๑ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซิส ร้อยละ ๑๐๐

3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส ในตําบลนาโยงใต้

ตัวชี้วัดที่ ๑ อัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส ในตําบลนาโยงใต้ลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 107 19,670.00 0 0.00
1 มิ.ย. 66 - 20 ก.ย. 66 ประชุมภาคีเครือข่าย เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อ 2 เป็นไปตามตัวชี้วัด ข้อ 1 , 2 107 6,270.00 -
1 มิ.ย. 66 - 20 ก.ย. 66 ควบคุม ป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อ 1, 3 เป็นไปตามตัวชี้วัดข้อ 1 0 7,800.00 -
1 มิ.ย. 66 - 20 ก.ย. 66 ประชาสัมพันธ์ในชุมชน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อ 2 เป็นไปตามตัวชี้วัดข้อ 1 0 5,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทุกหมู่บ้านสามารถเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิส
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส
  3. อัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส ในตำบลนาโยงใต้ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 14:34 น.