กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1497-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 10 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 7,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี สุขมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 10 ก.ย. 2566 7,780.00
รวมงบประมาณ 7,780.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส กลุ่มที่อยู่ในลําไส้ของคน มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบ นเด็กเล็ก โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการกินอาหารโดยไม่ล้างมือ การดื่มน้ํา ดูดเลียนิ้วมือ ซึ่งโรคนี้จะมีอาการโดยทั่วไป จะมีไข้ เจ็บคอ มีตุ่มพองใสขนาด 1 - 2 มม. บนฐานซึ่งมีสีแดงกระจายอยู่บริเวณคอหอย และตุ่มพองใสจะขยายกลายเป็นแผล คล้ายแผลร้อนใน โดยส่วนมากพบที่บริเวณด้านหน้าของต่อมทอนซิล เพดานปาก ลิ้นไก่ และต่อมทอนซิล มักเป็นอยู่นาน 4 - 6 วัน หลังเริ่มมีอาการ และอาจมีอาการชักจากไข้สูงร่วมได้ การระบาดมักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มเด็ก เช่นสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อยู่กันอย่างแออัด ถ้ามีการระบาดเป็นระยะเวลานานจะทําให้มีโอกาส ที่จะแพร่ไปสู่เด็กที่มีอายุมากขึ้น จนถึงวัยรุ่น และความรุนแรงของโรคก็จะเพิ่มมากขึ้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (ชมรม อสม.) ตําบลนาโยงใต้ ได้เล็งเห็นความสําคัญของปัญหา ดังกล่าว จึงได้จัดทําโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคมือ เท้า ปากขึ้น ประจําปี 2566 เพื่อให้เด็กและผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก และลดอัตราการป่วยด้วยโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก ร้อยละ 90

2 เพื่อให้สถานศึกษา และผู้ดูแลเด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
  1. สถานศึกษาในตำบลนาโยงใต้ เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100
  2. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยทุกคนที่เข้าร่วมโครงการมีการคัดกรองเด็ก และการเเจ้งเตือนข้อมูลการเกิดโรคให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบกรณีมีเด็กป่วยทุกราย
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก

อัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 7,780.00 0 0.00
1 พ.ค. 66 - 10 ก.ย. 66 จัดทำสื่อไวนิล ประชาสัมพีนธ์ 0 900.00 -
1 พ.ค. 66 - 10 ก.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมป้องกันโรค มือ เท้า ปาก 50 2,670.00 -
1 พ.ค. 66 - 10 ก.ย. 66 ทำความสะอาดห้องเรียน/อุปกรณ์การเรียนการสอน/ของเล่นในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 4,210.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค มือ เท้า ปาก 2. สถานศึกษา และชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค มือ เท้า ปาก 3. อัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 14:38 น.