กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม ป้องกัน เฝ้าระวังวัณโรคเชิงรุก ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1497-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 10 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 9,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี สุขมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 10 ก.ย. 2566 9,450.00
รวมงบประมาณ 9,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยจะนํากลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดําเนินงานควบคุมวัณโรค แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทําให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็น ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก ที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น สําหรับตําบลนาโยงใต้ อําเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษา ปี๒๕๖๕ จํานวน ๒ ราย คิดเป็นอัตรา ๔๓.๘๗ ต่อประชากรแสนคน ปัญหาการดําเนินงานที่ผ่านมา นอกเหนือจากผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาพยาบาล เนื่องจากต้องกินยาจํานวนมาก ติดต่อเป็นเวลานาน และได้รับผลกระทบอาการข้างเคียงของยาแล้ว การคัดกรองวัณโรค ในกลุ่มเสี่ยงยังดําเนินการไม่ทั่วถึง การแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน ต้องดําเนินการพัฒนาศักยภาพของผู้เกี่ยวข้อง มีการการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง อย่างถูกต้อง รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน ดําเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการ เข้าข่าย เป็นผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค และแรงงานต่างด้าว รวมทั้งมีการดําเนินการส่งต่อเพื่อเข้ารับรักษาโดยเร็ว จากความสําคัญของปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านตําบลนาโยงใต้ จึงได้จัดทําโครงการควบคุม ป้องกัน เฝ้าระวังวัณโรคเชิงรุก ประจําปี ๒๕๖๖ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัณโรค

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวัณโรคที่ถูกต้อง

2 เพื่อคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ

กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 100

3 เพื่อพัฒนาระบบการรักษาวัณโรคแบบกำกับการกินยา โดยเจ้าหน้าที่หรือพี่เลี้ยง (DOTs)

ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายที่ขึ้นทะเบียนได้รับการกำกับติดตามการกินยาโดยเจ้าหน้าที่หรือพี่เลี้ยง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 8,650.00 0 0.00
1 เม.ย. 66 - 10 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย 60 8,250.00 -
1 เม.ย. 66 - 10 ก.ย. 66 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค 0 400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเองและรู้จักป้องกันและแก้ไขปัญหาวัณโรคสมารถถ่ายทอดความรู้ สู่ชุมชนได้
  2. กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับการคัดกรอง
  3. กลุ่มเสี่ยงที่มีอาการสงสัยได้รับการส่งต่อเพื่อรับการยืนยันการรักษาที่ถูกต้อง
  4. มีการกํากับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่หรือพี่เลี้ยง(DOTS)
  5. อัตราป่วยความสําเร็จในการรักษาวัณโรค อยู่ในอัตราร้อยละ100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 14:42 น.