กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1497-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 15 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2566
งบประมาณ 5,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณดี สุขมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 15 ก.ย. 2566 5,240.00
รวมงบประมาณ 5,240.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด เป็นสาเหตุสําคัญ ของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิด ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสําคัญในการเลือกรับประทาน อาหาร นอกเหนือจากรสชาติของอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคํานึงถึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วยคือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ และปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จําเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถ จัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจําเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัยของอาหาร และดําเนินการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหาร ที่ปลอดภัย ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)ตําบลนาโยงใต้ จึงได้จัดทําโครงการเฝ้าระวังสารปนเปื้อน ในอาหารขึ้น ประจําปี ๒๕๖๖ เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และประกันคุณภาพของอาหาร สร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้ง ผู้บริโภค ให้ตระหนักถึงความสําคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีกระบวนการเฝ้าระวัง และตรวจสอบคุณภาพอาหาร
  1. อสม.มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหาสารปนเปื้อนจากร้านจำหน่ายอาหารสดในชุมชน ปีละ 2 ครั้ง
  2. ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารสดทุกร้าน ให้ความร่วมมือ ร้อยละ 90
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารสดมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกซื้อ และจำหน่ายอาหารสดที่สะอาดปลอดภัย

ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารสด มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อ และจำหน่ายอาหารสด ร้อยละ 100

3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน
  1. ตัวอย่างที่สุ่มเก็บจากร้านจำหน่ายอาหารสด ได้รับการตรวจหาสารปนเปื้อนร้อยละ 100
  2. ร้านจำหน่ายอาหารสดทุกร้าน ได้ทราบผลการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกซื้อ และจำหน่ายอาหารที่สะอาด ปลอดภัยไร้สารปนเปื้อน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,240.00 0 0.00
18 เม.ย. 66 - 20 ก.ค. 66 สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสด ตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร 0 5,240.00 -
10 ก.ย. 66 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ ตรวจ ให้คำแนะนำผู้ประกอบการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีกระบวนการฝ้าระวัง และตรวจสอบคุณภาพอาหาร
  2. ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกซื้อและจําหน่ายอาหารสด
  3. ประชาชนในพื้นที่ ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 14:46 น.