กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคติดต่อ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3017-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2566 - 28 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิมรอน หะยีสามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน โรคภัยที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคจากสัตว์แมลง โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคปวดศีรษะคลื่นไส้และอาเจียนเกิดจากกลิ่นเน่า โรคมะเร็งเนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย
พื้นที่ ตำบลปูยุด เป็นพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์จากโรคที่เกิดจาขยะมูลฝอย จากข้อมูลปีที่ผ่านมา ที่ผ่านมามีผู้ป่วยจากโรคที่เกิดจากขยะมูลฝอย ดังนี้คือ การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลันอื่น ๆ ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 336ราย ปี พ.ศ.2565 จำนวน 385 ราย และปี พ.ศ. 2566 (ตั้งแต่ ต.ค. 2565-ม.ค. 2566) จำนวน 253 ราย โรคอักเสบติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 41 ราย ปี พ.ศ.2565 จำนวน 54 ราย และปี พ.ศ. 2566 (ตั้งแต่ ต.ค. 2565-ม.ค. 2566) จำนวน 30 ราย ข้อมูลรายโรคที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การล้างมือ ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 458 ราย ปี พ.ศ.2565 จำนวน 498 ราย และ ปี2566 (ตั้งแต่ ต.ค. 2565-ม.ค.2566) จำนวน 300 ราย เป็นต้น
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปูยุด ได้เล็งเห็นปัญหาโรคภัยที่เกิดจากขยะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในพื้นที่เกิดโรคจากขยะมูลฝอย จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะที่ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้ จึงจัดทำโครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคติดต่อ ในตำบลปูยุด ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันโรคของประชาชนและเยาวชนในตำบลปูยุดจากขยะมูลฝอย

มีระบบการจัดการขยะมูลฝอย และประชาชนเป็นโรคภัยจากขยะมูลฝอยลดลง สามารถดูแล ป้องกันตนเองและคนในครอบครัวได้

2 เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนในตำบลปูยุด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกขยะออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท

 

3 เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเยาวชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเกิดและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการของเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยด้วยโรคจากขยะมูลฝอยในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง ๓ ปี

๒. มีชุมชนตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การคัดแยกขยะ และ ขยะแลกบุญ

๓. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้าน ในชุมชนและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 15:26 น.