กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์จัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เพื่อสุขภาพที่ดี
รหัสโครงการ 66-L2532-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.มาโมง
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 34,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อบต.มาโมง
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมาโมง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาจากขยะมูลฝอยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้าง จึงต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำข้าสู่ระบบการทำลายที่ปลอดภัย เศษอาหารที่เหลือแล้วที่เป็นขยะเปียกได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก สร้างรายได้ให้กับประชาชน ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งหรือนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป เมื่อเราทราบว่าขยะรีไซเคิล มีชนิดใดบ้างก็สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เมื่อนำไปขายก็จะเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิล ให้มากขึ้น และง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลประเภทนั้น ๆ ขยะมูลฝอยในครัวเรือนโดยทั่วไปสามารถ แยกออกเป็นวัสดุรีไซเคิลได้เป็น 4 ประเภท คือ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งเมื่อแยกออกเป็น ประเภทต่าง ๆ แล้วมักจะเรียกว่าวัสดุรีไซเคิล การคัดแยกขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหา ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการ รีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป
งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลมาโมง จึงได้เห็นความสำคัญดังกล่าวฯ จึงได้จัดทำโครงการโครงการรณรงค์จัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เพื่อสุขภาพที่ดี เพื่อนำร่องในการบริหารจัดการขยะ ให้เป็นประโยชน์ ให้ประชาชนรู้จักการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน และป้องกันแหล่งโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยในอนาคตต่อไป ส่วนของขยะเปียก็ใช้วิธีการขุดหลุมตัดก้นถังขยะแล้วฝังกลบในดินสองในสามส่วนของถังขยะ แล้วทิ้งขยะเปียกเศษอาหารต่างๆ ลงในถังขยะเปียก กวนให้ผสมผสานกันแล้วปิดฝาเมื่อเต็มแล้ว ก็สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยหมัก และขุดหลุมที่ใหม่ต่อทำวิธีเดียวกันต่อ ก็จะเป็นการกำจัดขยะเปียกลดภาวะโลกร้อน ลดก๊าซเรือนกระจกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับปัญหาและผลประโยชน์ของขยะเปียก

 

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนัก และสามารถจัดการและวิธีการดำเนินการกับขยะเปียกได้ถูกต้องและทำอย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืนทุกครัวเรือน

 

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชนในแต่ละครัวเรือน

 

0.00
4 4. เพื่อลดปัญหาปริมาณขยะ ลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม สามารถ แก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในโลกนี้ได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,450.00 0 0.00
24 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ 0 27,350.00 -
24 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 สาธิตการฝั่งกลบ ถังขยะเปียก 0 3,600.00 -
24 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการดำเนินงาน 0 3,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับปัญหาและผลประโยชน์ของขยะเปียก
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนัก และสามารถจัดการและวิธีการดำเนินการกับขยะเปียกได้ถูกต้องและทำอย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืนทุกครัวเรือน
  3. สามารถส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชนในแต่ละครัวเรือน
  4. สามารถลดปัญหาปริมาณขยะ ลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม สามารถ แก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในโลกนี้ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 00:00 น.