กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรอบรู้ร่วมใจ ยะหริ่งปลอดภัย ใช้ยาสมเหตุผล ตำบลตะโละกาโปร์
รหัสโครงการ 66-50110-01-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 44,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสารอ มูหะมะสาเล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.872,101.43place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลในชุมชน
70.00
2 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังกินยาไม่ต่อเนื่องจากความเข้าใจเกี่ยวกับยาไม่ถูกต้อง
70.00
3 ผู้ป่วยเบาหวานกินอาหารเสริมแล้วทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น
60.00
4 ผู้สูงอายุใช้ยาชุดแก้ปวดเมื่อย ยาสมุนไพรแผนโบราณไม่มีเลขทะเบียน
60.00
5 บุคคลในครอบครัวไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อ เลือกใช้ยา
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลในชุมชน เป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน เรื้อรังต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน เป็นปัญหาที่ต้องทำความเข้าใจอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังกินยาไม่ต่อเนื่องจากความเข้าใจเกี่ยวกับยาไม่ถูกต้อง กินยาเยอะๆกลัวเป็นไต , กินยาสมุนไพรปลอดภัยกว่ายาโรงพยาบาล กินยาทุกวันก็ไม่ดีขึ้น ทำให้กินบ้าง ไม่กินบ้าง ด้วยพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานสิ่งที่น่ากังวลใจในผู้ป่วยโรคเรื้อรังรวมถึงครอบครัว คือ การเชื่อคำบอกเล่าจากเพื่อนบ้าน โฆษณาในโทรทัศน์บ้าง ทำให้ผู้ป่วยไม่กลัวที่จะใช้อาหารเสริมโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ราคาแพง กินแล้วอาจมีผลต่อโรคที่เป็น เช่น ผู้ป่วยเบาหวานกินอาหารเสริมแล้วทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุใช้ยาชุดแก้ปวดเมื่อย ยาสมุนไพรแผนโบราณไม่มีเลขทะเบียน รักษาสารพัดโรค มีคนมาขายถึงบ้าน เป็นปัญหาที่มักพบบ่อยจากการเยี่ยมบ้าน ครอบครัวไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อ เลือกใช้ยาทำให้ไม่สามารถคุ้มครองตนเองให้ห่างไกลจากผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยที่มาจากหลากหลายช่องทางได้ จากปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องมีการบูรณาการภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างความตระหนักรู้แก่คนในชุมชน เฝ้าระวังและจัดการยาอันตราย ตามประกาศนโยบายจังหวัดปัตตานี “ชาวปัตตานีรอบรู้ เครือข่ายร่วมมือ ใช้ยาปลอดภัย สมเหตุผล” เพื่อให้เกิดชุมชนสุขภาพดี ประชาชนมีความรอบรู้ด้านยา และมีพฤติกรรมจัดการตนเองด้านยาอย่างสมเหตุผลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับ RDU ในการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตะโละกาโปร์

เพื่อให้เครือข่ายในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับ RDU ในการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตะโละกาโปร์

60.00
2 เพื่อให้ร้าขายของชำในชุมชนปลอดยาอันตราย

ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดยาอันตราย

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 235 44,400.00 0 0.00
1 - 31 ม.ค. 66 พัฒนาศักยภาพแกนนำ RDU เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน RDU ในชุมชน 10 13,550.00 -
1 - 28 ก.พ. 66 ประชุมหารือสถานการณ์ปัญหาการขายยาอันตรายในร้านชำ และวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับเครือข่าย 50 9,000.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 ประชุมให้ความรู้ แก่ผู้ประกอบการร้านชำเกี่ยวกับการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ปลอดภัย เชื่อมโยงกับหลักการทางศาสนา และเกณฑ์การประเมินร้านชำ 100 14,350.00 -
1 - 30 เม.ย. 66 ติดตาม เสริมพลังร้านชำ ให้ได้ตามเกณฑ์ร่วมกับแกนนำ RDU ในชุมชน 25 2,500.00 -
1 - 30 มิ.ย. 66 ประชุมแกนนำ RDU เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน 50 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เครือข่ายในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับ RDU ในการเฝ้าระวังยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตะโละกาโปร์
  2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแจ้งข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันการแพร่กระจายยาอันตรายและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในตำบลตะโละกาโปร์
  3. ร้านชำในชุมชน มีคุณภาพ ปลอดยาอันตราย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 09:55 น.