กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูไวรียะ ยูนุ๊
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดมาแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต แต่ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของตำบลสะเตงนอกยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ สามี ญาติ ในขณะตั้งครรภ์การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และ แม่ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของมารดาที่ตั้งครรภ์ ส่งผลให้มารดาที่ตั้งครรภ์เจ็บป่วยและคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดมีสุขภาพไม่แข็งแรงและมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม เป็นต้น
จากการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นิบงบารู ปี 2565 พบว่า มีปัญหาหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด ซึ่งเกิดจากการที่หญิงตั้งครรภ์ดูแลตนเองในเรื่องโภชนาการอาหารไม่ดีนักในขณะตั้งครรภ์ รองลงมาคือมีปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
ซึ่งมีสาเหตุมาจากการคลอดก่อนกำหนดการมีภาวะทุพโภชนาการของมารดา และปัญหาหญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยและไม่ได้คุมกำเนิดและปัญหาการฝากครรภ์ครั้งแรก เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ จากสภาพปัญหาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดทารกแรกเกิด เพื่อให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และให้ทารกที่คลอดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดและหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ

 

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงและแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างทันท่วงที

 

0.00
3 เพื่อช่วยลดอัตราตายของ หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์

 

0.00
4 เพื่อแก้ไขภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่คลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,800.00 1 23,800.00
25 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ 0 23,800.00 23,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100
    1. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม น้อยกว่าร้อยละ 7
  2. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ น้อยกว่าร้อยละ 15
  3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด มีความเสี่ยง และคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ สามารถนำความรู้ที่ได้รับใช้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 10:43 น.