กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำปลอดยาอันตราย ในตำบลโคกสะตอ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลโคกสะตอ
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอลัดดา แดเม๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะตอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,101.449place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ออกกฏหมายให้ร้านชำสามารถจำหน่ายยาได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน จากการดำเนินการตรวจสอบยาในชุมชน โดยสุ่มตรวจสอบร้านชำในเขตรับผิดชอบ จำนวน 10 ร้าน จากทั้งหมด 34 ร้าน ในปีพ.ศ.2565 พบว่าร้านชำมีการจำหน่ายยาอันตราย จำนวน 9 ร้าน (90%) ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะ(Antibiotics) ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาชุด ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน รวมทั้งยาด้วย เนื่องจากความนิยมของประชาชนซื้อยาจากร้านชำมารับประทานเอง ทำให้ประชาชนเสี่ยงต่ออันตรายจากการใช้ยา เกิดการดื้อยา และเป็นอันตรายต่อสุขภาพหากไม่ได้รับคำแนะนำและใช้ยาอย่างถูกต้อง ซึ่งในปีพ.ศ.2565 พบผู้ป่วยมาด้วยอาการแพ้ยา หน้าบวม ผื่นลมพิษ หรือ ผื่นแพ้ยาอื่นๆจากยาที่ซื้อในร้านชำ (8 คน) พบยาเก่าที่นำมาคืนมีหลายรายการที่เป็นยาปฏิชีวนะ ที่ผู้ป่วยรับประทานไม่หมด จากสถานการณ์และปัญหาจากการใช้ยาในชุมชนจะเห็นได้ว่า มีปัจจัยหลายส่วน ไม่ว่าตัวผู้ใช้ยา ผู้สั่งยา ร้านชำ ตลอดจนการควบคุมตามกฎหมาย ซึ่งการที่ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง และไม่สมเหตุผล จึงทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา จากการวิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้ร้านชำนำยาอันตรายมาจำหน่ายนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการไม่รู้กฎหมาย พรบ.ยา การโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณของน้ำสมุนไพรและอาหารเสริม การอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงของยา ร้านขายยาอยู่ห่างไกลจากชุมชน รวมทั้งความเข้าใจว่ายาจากโรงพยาบาลไม่ดีเท่ายาชุด หายไวไม่เสียเวลา ซึ่งยาชุดแก้อาการต่างๆและการหลงเชื่อโฆษณาจากรถเร่และคนเดินเร่ขาย
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะตอ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำปลอดยาอันตราย ในตำบลโคกสะตอ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ความเข้าใจด้านการใช้ยาที่สมเหตุผล และคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยจากการใช้ยา ส่วนการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำ จึงเป็นการแก้ปัญหาการใช้ยาในชุมชนไม่สมเหตุผลและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา สืบเนื่องจากความนิยมของประชาชนซื้อยามาจากร้านชำมารับประทานเอง และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายคณะกรรมการอาหารและยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ครอบคลุมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุดและการใช้ยาสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำพื้นที่

ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ความเข้าใจในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ยาที่ถูกต้อง ร้อยละ 100

2 เพิ่มความรู้ในเรื่องพรบ.ยาแก่ผู้ประกอบการ

ร้อยละของร้านชำไม่พบการจำหน่ายยาอันตราย ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบทราบ
  4. ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับร้านชำปลอดยาอันตราย
  5. ประเมินผล ติดตาม และสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำลดลง
  2. ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ในเรื่องพรบ.ยาเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 11:52 น.