โครงการส่งเสริม สุขภาวะกาย จิตใจและสังคม ด้วยชมรมทูบีนัมเบอร์วัน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริม สุขภาวะกาย จิตใจและสังคม ด้วยชมรมทูบีนัมเบอร์วัน |
รหัสโครงการ | 66-L8412-04-005 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมทูบีนับเบอร์วันชุมชนเมืองเก่าท่าสาป |
วันที่อนุมัติ | 14 มีนาคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 กันยายน 2566 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนาอีม ดือรามะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.538,101.235place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้ผู้คนมีอายุยืนมากกว่าหลายๆปีที่ผ่านมา พร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้วิถีชีวิต และการดำรงชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ส่งผลให้การดูแลสุขภาพเปลี่ยนไป โดยเฉพาะวัยรุ่นมีการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย อาจส่งผลทำให้เกิดโรคประจำตัวและเกิดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินเกณฑ์ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตต้องพัฒนา ทั้งทางด้านร่างกาย และสุขภาพทางด้านจิตใจ และจากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1,152,044 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตของการทำ งานและการสร้างครอบครัว และจากการศึกษาดัชนีวัดความสูญเสียทางสุขภาพ หรือ DALYs พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 คนไทยสูญเสียสุขภาวะ (DALYs) ทั้งที่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี โดย 10 อันดับแรกสำหรับ เพศชายมีโรคซึมเศร้าอยู่ในอันดับที่ 10 และในเพศหญิงโรคซึมเศร้าอยู่อันดับที่ 3 การสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิตและในภาวะวิกฤต เช่น ภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำ เนินชีวิต การประกอบอาชีพทั้งของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเอง คนใกล้ชิดและครอบครัว ชุมชนหากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก็จะช่วยลดสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ลงได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตคือ การส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจและการที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช โดยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเครียดระยะยาว ความก้าวร้าวรุนแรง และเพิ่มปัจจัยปกป้อง เช่น การให้กำลังใจ การช่วยเหลือด้านการอาชีพ แก่ประชาชนทุกเพศวัย การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตดำเนินการในกลุ่มประชาชนทุกเพศวัยในกลุ่มปกติ เช่น การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อลดความเครียด การจัดค่ายป้องกันยาเสพติดสำหรับวัยรุ่นและกลุ่มเสี่ยง เช่น การดูแลทางสังคมจิตใจกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ การคัดกรองและดูแลทางสังคมจิตใจ เป็นต้น
จากสถานการณ์ดังกล่าว ชมรมทูบีนับเบอร์วันชุมชนเมืองเก่าท่าสาป ได้เห็นความสำคัญ ขอปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม สุขภาวะกาย จิตใจและสังคม ด้วยชมรมทูบีนัมเบอร์วันขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลท่าสาป มีสุขภาพกาย ใจที่ดี และอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
|
||
2 | เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล ในการส่งเสริมให้เยาวชนมีสุขภาพที่ดีเป็นกำลังสำคัญของประเทศ
|
||
3 | เพื่อเป็นการเสริมความเข้มแข็งของชมรมทูบีนับเบอร์วันชุมชนเมืองเก่าท่าสาปกับเครือข่ายมีความภาคภูมิใจในตนเอง มีบทบาทและมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์ในสังคม
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | เม.ย. 66 | พ.ค. 66 | มิ.ย. 66 | ก.ค. 66 | ส.ค. 66 | ก.ย. 66 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสุขภาพกาย ใจ สังคมและจัดกิจกรรมเพิ่มทักษะป้องกันตัวจากภัยพิบัติ เช่นการป้องกันการจมน้ำ(1 พ.ค. 2566-31 พ.ค. 2566) | 30,000.00 | ||||||
รวม | 30,000.00 |
1 อบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสุขภาพกาย ใจ สังคมและจัดกิจกรรมเพิ่มทักษะป้องกันตัวจากภัยพิบัติ เช่นการป้องกันการจมน้ำ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 60 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | 30,000.00 | |
1 - 2 พ.ค. 66 | อบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสุขภาพกาย ใจ สังคมและจัดกิจกรรมเพิ่มทักษะป้องกันตัวจากภัยพิบัติ เช่นการป้องกันการจมน้ำ | 60 | 30,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 60 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | 30,000.00 |
- เยาวชนตำบลท่าสาป ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพกาย ใจ สังคมของตนเองและเพื่อน คนรอบข้างได้
- ชมรมทูบีนับเบอร์วันชุมชนเมืองเก่าท่าสาป มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในบทบาทตนเอง
- ตำบลท่าสาปเป็นตำบลต้นแบบด้านสุขภาพกายใจและสังคม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 13:21 น.