กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุท่าสาปสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ในปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8412-04-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าสาป
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 30,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพัฒนา เนียมน้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 20 และเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super- Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 28 ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ในปี พ.ศ. 2563 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 18.24 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) ซึ่งตามการคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งกระทบต่องบประมาณด้านการรักษาพยาบาล โดยสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย ได้คาดประมาณการด้านงบประมาณในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เฉลี่ยประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์จึงเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อลดภาระด้านเศรษฐกิจของประเทศ สังคม และครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินงานโดยมีเป้าหมาย “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน” อีกทั้งได้มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ให้มีความสอดคล้อง และเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ประกอบด้วย สถานการณและปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ สถานะสุขภาพ ยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ 4 ด้านของกระทรวงสาธารณสุข คือ 1) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion, Prevention & Protection Excellence) 2) บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) 3) บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) และ 4) บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) ซึ่งมีเป้าหมาย ตัวชี้วัด และมาตรการสำคัญในแต่ละโครงการ ตลอดจนแนวทางการขับเคลื่อน การประเมินผลการดำเนินงาน และการสร้างความเข้าใจร่วมกัน ในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขให้แก่ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าสาป ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุท่าสาปสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ปี 2566 เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าสาปเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพัฒนาการทางด้านสุขภาพกายที่เหมาะสมตามวัย

 

2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตใจที่เหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ

 

3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะทางสังคม ความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติ สุข

 

4 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัย ของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
  2. ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคม
  3. สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุ มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อ ดำรงชีวิตอยู่ใน สังคมอย่างมีคุณค่า
  4. ผู้สูงอายุ มีส่วนร่วมในกิจกรรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะ ต่าง ๆ ร่วมกัน
    ผู้เขียนโครงการ 5.ผู้สูงอายุมีพัฒนาการทางด้านสุขภาพกายที่เหมาะสมกับวัย
    6.ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตใจที่เหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ
    7.ผู้สูงอายุสุขภาวะทางสังคม ความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 13:37 น.