กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำ ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค
รหัสโครงการ 66-L5187-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 41,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชญาภา ศิริวรรณ์ นักวิชาการสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,100.783place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยสูง
  ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น มีสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย รถเร่ขายยา ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้าน ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย

  ในปีงบประมาณ 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการร้านชำ ปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการร้านขายของชำในด้านการค้าขาย การประกอบอาหารให้ถูกสุขลักษณะและมีคุณภาพ ผู้ประกอบการร้านชำ จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง และจำหน่ายยาเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน และไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาหรือเครื่องสำอางห้ามจำหน่ายตามประกาศ อย.ต่อไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการ ตัวแทนผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา เครื่องสำอาง

ร้อยละ 70 ผู้ประกอบการร้านชำ ตัวแทนผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง

2 เพื่อพัฒนาร้านชำให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ

ร้อยละ 100 ร้านชำสามารถผ่านเกณฑ์คุณภาพตามแบบประเมินร้านชำ

3 เพื่อตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร

ร้อยละ 70 ไม่พบสารปนเปื้อนในอาหาร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 65 41,980.00 0 0.00
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อน 9 ชนิด 0 22,655.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 การลงพื้นที่ตรวจร้านชำ พร้อมมอบป้ายร้านชำคุณภาพ 25 12,500.00 -
5 เม.ย. 66 อบรมผู้ประกอบการร้านชำ ตัวแทนผู้บริโภคและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา เครื่องสำอาง เพื่อสร้างเครือข่ายพลังในชุมชน 40 6,825.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการร้านชำ ตัวแทนผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยาและเครื่องสำอาง 2. เกิดร้านชำพัฒนาผ่านเกณฑ์คุณภาพตามแบบประเมินร้านชำ 3. รู้ผลการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 15:21 น.