กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เชิงรุก บุกถึงบ้าน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2502-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กาหนั๊วะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 1 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 58,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิด๊ะห์ ดือเระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต สำหรับโรคมะเร็งที่ทำให้สตรีเสียชีวิตมากที่สุด คือ มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยมะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับหนึ่งและเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็นเมื่ออยู่ในระยะก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว การรักษามักไม่ได้ผล ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือการค้นหาก้อนมะเร็งให้เร็วที่สุด การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน สามารถช่วยให้ค้นหามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรก ส่งผลให้ลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมได้ ในส่วนของมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับสอง หรือประมาณ 80% ของผู้ป่วยและพบมากในประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยจากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงไทยเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญโรคนี้มาโดยตลอด และเร่งดำเนินการให้ผู้หญิง ได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันตนเองจากโรคนี้ได้ สำหรับการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก มีวิธีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษา พบว่า การคัดกรองด้วยการทำ Pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูก จากข้อมูลการดำเนินงานตรวจมะเร็งปากมดลูก จะเห็นได้ว่าการตรวจมะเร็งปากมดลูกค่อนข้างยาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาหนั๊วะ เป็นหน่วยงานบริการสุขภาพที่ใกล้ชิดกับประชาชนและได้สอบถามสาเหตุที่ไม่ยอมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เนื่องจาก ความอาย ไม่กล้าเข้ารับการตรวจคัดกรอง      ที่สถานบริการทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกัน  มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในหญิง อายุ ๓๐-7๐ ปี
ดังนั้นเพื่อให้การคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและสามารถพบผู้ที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่มก่อนเป็นโรคมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาหนั๊วะ จึงได้จัดทำโครงการพิชิตโรคร้าย มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี ๒๕๖6 ขึ้น    เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้มีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้องและมีการตรวจสม่ำเสมอ            มีความกระตือรือร้นในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก อันจะสามารถช่วยลดปัญหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลุกกระแสและรณรงค์เรื่องการส่งเสริมกิจกรรมการป้องกัน เฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มากกว่า ร้อยละ 70

2 กลุ่มเป้าหมาย หญิงอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจ Pap smear ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 20

3 กลุ่มเป้าหมายหญิงอายุ 30-70 ปี ที่ตรวจพบมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัย ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อปลุกกระแสและรณรงค์เรื่องการส่งเสริมกิจกรรมการป้องกัน เฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : กลุ่มเป้าหมาย หญิงอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : กลุ่มเป้าหมายหญิงอายุ 30-70 ปี ที่ตรวจพบมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นดำเนินการ ๑.สำรวจข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ 30-70 ปี ๒.จัดทำแผนปฎิบัติการ พร้อมกำหนดวัน เวลา สถานที่ เพื่อดำเนินการ 3.อบรมเชิงปฎิบัติการเชิญเจ้าหน้าที่ มาให้ความรู้ เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในกลุ่มหญิงวัยเจริยพันธุ์   - สร้างความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยใช้นักวิชาการอิสลาม
  - ทำความเข้าใจให้กลุ่มเป้ามาย เรื่องศาสนาอิสลามตรวจมะเร็งปากมดลูกได้
4. ประชาสัมพันธ์ มัสยิด และในชุมชน ให้ทราบถึงกิจกรรม
5. อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำสตรี ติดตามกลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาหนั๊วะ ๔. เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขเยี่ยมติดตามกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เชิงรุก บุกถึงบ้าน
๕. ออกให้บริการเชิงรุกในการตรวจมะเร็งปากมดลูกถึงที่ถึงบ้านมากขึ้น
ขั้นหลังดำเนินการ ๑. สรุปและประเมินผลโครงการ ๒. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติและส่งต่อแพทย์
๓. สรุปวิเคราะห์และประเมินผล - ประเมินผล สรุปการดำเนินงานตรวจคัดกรอง แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรอง - รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มหญิงอายุ ๓๐-7๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามเกณฑ์กำหนดและได้รับการเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยง สามารถรักษาโรคในระยะแรกได้ทันท่วงทีและเป็นการส่งเสริม ดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
๒. ลดอัตราการป่วยและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของประชาชน
๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของกลุ่มหญิงอายุ ๓๐-7๐ ปี
๔. กลุ่มหญิงอายุ 30-70 ปี ที่ตรวจพบมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2566 10:28 น.