กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กป้องกันโรคสมาธิสั้น ติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2502-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 พฤษภาคม 2566 - 3 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 5 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 77,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุสมีนี กาบง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีปัญหาเด็กติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะ  พ่อ แม่ขาดความเข้าใจ เลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์มือถือ ให้เล่นเกมเพื่อจะได้อยู่นิ่งๆ และอยู่ในสายตาการปล่อยให้ลูกเล่นมือถือและทิ้งลูกอยู่กับหน้าจอเพียงลำพังนานเกินวันละหลายชั่วโมง อาจส่งผลให้เด็กจดจ่อกับเรื่องราวที่ผ่านตาเร็วเกินไป และไม่ยอมละสายตาเพื่อสนใจกับสิ่งรอบตัวอื่นรอบข้าง ด้วยการเคลื่อนไหวในสื่อต่าง ๆ บนหน้าจอมือถือหรือแท็ปเล็ตที่เปลี่ยนแปลงและมีความรวดเร็ว จะทำให้เกิดปัญหาการใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง และหากปล่อยให้ลูกเล่นเช่นนี้เป็นประจำทุกวันจะสะสมให้เด็กเกิดอาการ “สมาธิสั้น” ได้ จากสถิติเด็กอายุ 6-12 ปี ที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นในประเทศไทยซึ่งจัดเก็บตั้งแต่ปี 2555 พบว่า มีเด็กป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นมากถึง 1 ล้านคน พบในเด็กผู้ชายมากถึงร้อยละ 12 มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่พบร้อยละ 10    โดยอาการสมาธิสั้นส่วนใหญ่พบในเด็กอายุก่อน 7 ปี และจะมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน
ซึ่งในประเทศไทยพบความชุกของโรคในเด็กนักเรียนชั้น ป.1-5 ถึงร้อยละ 8.1 ประมาณการได้ว่ามีเด็กนักเรียนชั้น ป.1- ป.5 ทั่วประเทศป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นถึง 1 ล้านคน และมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ในอัตราส่วน 3:1 และหากไม่ได้รับการวินิจฉัย รักษา และปรับพฤติกรรมอย่างถูกต้อง เด็กจะมีโอกาส    ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน เกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุมากกว่าเด็กปกติ มีปัญหาการปรับตัวเข้า  กับผู้อื่น ฯลฯ และส่งผลเป็นปัญหาระยะยาว เช่น กลายเป็นคนต่อต้านสังคม มีความเสี่ยงติดยาเสพติด    เกิดภาวะซึมเศร้าและหากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้นจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านลบ และติดตัวไปจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ถึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กป้องกันโรคสมาธิสั้น      ติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ เพื่อให้ความรู้ส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนใช้สื่อออนไลน์ในทางที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น และส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เพื่อหลีกเลี่ยงโทษและปัญหาที่เกิดขึ้น  ในอนาคตกับเด็กที่มาจากการติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ จนกลายเป็นโรคสมาธิสั้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับภัยที่เกิดจากการติดโทรศัพท์ ติดเกมส์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ เรื่อง ภัยที่เกิดจากการติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ ร้อยละของ ปชช.   : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรม

2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียน มีสุขภาพจิตเหมาะสมตามวัย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้เข้าร่วมอบรมมีสุขภาพจิตที่ดีเหมาะสมตามวัย ร้อยละของ ปชช.  : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรม

3 เพื่อลดภาวการณ์ติดเกมติดจอและส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนใช้สื่อออนไลน์ในทางที่เหมาะสมไม่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้เข้าร่วมอบรมมีการลดภาวการณ์ติดเกมติดจอและไม่ทำให้ตนเองเกิดโรคสมาธิสั้น ร้อยละของ ปชช.  : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับภัยที่เกิดจากการติดโทรศัพท์ ติดเกมส์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียน มีสุขภาพจิตเหมาะสมตามวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อลดภาวการณ์ติดเกมติดจอและส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนใช้สื่อออนไลน์ในทางที่เหมาะสมไม่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีดำเนินงาน
1. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจ กำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายของโครงการ 2. วิเคราะห์ปัญหาที่พบและจัดทำแผนการดำเนินงาน 3. เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ 4. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน
6. ดำเนินงานตามโครงการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  ทั้ง 4 ด้าน ภัยของการติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ และกิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมความสามัคคี ลดการติดจอ 7. แจกแผ่นพับเดินรณรงค์ 8. ติดตั้งป้ายไวนิลรณรงค์ หมู่ที่ 1 จำนวน 3 จุด
หมู่ที่ 2 จำนวน 7 จุด
หมู่ที่ 3 จำนวน 4 จุด
หมู่ที่ 4 จำนวน 3 จุด หมู่ที่ 5 จำนวน 8 จุด
หมู่ที่ 6 จำนวน 5 จุด 9. สรุปผลตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กวัยเรียนและผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับภัยของการติดโทรศัพท์ ติดเกมส์
  2. เด็กวัยเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพจิตให้เหมาะสมตามวัย ไม่เกิดโรคสมาธิสั้น
  3. เด็กวัยเรียนติดเกมติดจอลดลงและใช้สื่อออนไลน์ในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2566 10:30 น.