กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการฟันสวยยิ้มใสสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา ประจำปีงบประมาณ 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟันสวยยิ้มใสสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา ประจำปีงบประมาณ 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิตยา รอเกตุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รอยยิ้มที่สดใสของเด็กบ่งบอกถึงการมีสุขภาพดีและรอยยิ้มที่สดใสจำเป็นต้องมีฟันสีขาวสะอาด ไม่ผุเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพฟันดีต้องเริ่มจากฟันน้ำนม เพราะฟันน้ำนมมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าฟันแท้ โดยทำหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อส่งต่อไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำหน้าที่ย่อยอาหารได้อย่างสมบูรณ์และเป็นตัวกระตุ้นให้ขากรรไกรมีการเจริญเติบโตมีขนาดกว้างเพียงพอให้ฟันแท้ที่มีขนาดโตกว่าฟันน้ำนมสามารถขึ้นได้ และฟันน้ำนมแต่ละซี่เปรียบเสมือนเสาหลักที่จองไว้ให้ฟันแท้ขึ้นได้ตรง ไม่ซ้อนเก ทั้งยังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษา ทำให้เด็กพูดได้ชัดเจน และเพิ่มความสวยงามให้แก่ใบหน้าของเด็กอีกด้วย
จากการสำรวจข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตามรายงาน HDC จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ พบว่า ในกลุ่มอายุ 3 ปีมีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 60.00 และอัตราการเกิดฟันแท้ผุ กลุ่มอายุ 6 ปี ร้อยละ 18.95 กลุ่มอายุ 9 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 38.89 และเด็กอายุ 12 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 45.45 จากที่กล่าวมาเห็นว่า เด็กยังมีฟันผุ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคในช่องปาก มักจะเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง อาหารการกิน นมที่เด็กดื่มจะเป็นรสหวาน การที่เด็กดื่มนมจากขวดแล้วเด็กก็มักจะหลับคาขวดนม และในช่วงการหลับนั้นการไหลเวียนของน้ำลายน้อยลงส่งเสริมให้เกิดฟันผุได้ง่ายขึ้นเช่นกัน การแปรงฟันที่  ไม่ถูกวิธี การขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก และการขาดความร่วมมือจากผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลานตนเอง ซึ่งแนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่มีการการฝึกทักษะ ผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยงเด็ก ในตรวจคัดกรองระยะเริ่มแรก การดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการเลี้ยงลูกด้วยนมขวดที่ถูกวิธี การป้องกันการเกิดโรคฟันผุ การบริโภคอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ จะสามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มารดาหรือพี่เลี้ยงเด็ก ๓-๔ ปี มีความรู้เรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสภาวะ ช่องปากเด็ก ๓-๕ ปีอย่างถูกต้อง

ร้อยละ 70 มารดาหรือพี่เลี้ยงเด็ก ๓-๔ ปี มีความรู้เรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสภาวะ
ช่องปากเด็ก ๓-๕ ปีอย่างถูกต้อง

2 เด็กอายุ ๓-๔ ปี ได้รับการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพอย่างเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม

ร้อยละ 70 เด็กอายุ ๓-๔ ปี ได้รับการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพอย่างเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้มารดาหรือพี่เลี้ยงเด็ก ๓-๔ ปี มีความรู้เรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสภาวะ ช่องปากเด็ก ๓-๕ ปีอย่างถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เด็กอายุ ๓-๔ ปี ได้รับการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพอย่างเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 ๑. กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง 0.00 5,500.00 -
1 มี.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 การฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครอง 0.00 1,400.00 -
1 มี.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 ฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองและเด็ก 80.00 1,400.00 -
4 เม.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง 80.00 5,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๔.๑ ขั้นเตรียมการ ๔.๑.๑ ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการ และรูปแบบการจัดกิจกรรม
๔.๑.๒ เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ เพื่อ ขออนุมัติงบประมาณ     ๔.๒ ขั้นดำเนินการ         ๔.๒.๑ ประสานงานกับครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการร่วมกับแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ ๓-๔ ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ
                ๔.๒.๒ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการอบรม               ๔.๒.๓ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ แก่ผู้ปกครองเด็ก ๓-๔ ปี เรื่องความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก - ทดสอบความรู้เรื่องทันตสุขภาพก่อนการอบรม
      - ให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองเด็ก ๓-๔ ปี   - ความสำคัญของสุขภาพช่องปาก - สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคในช่องปากและการป้องกัน
      * โรคฟันผุ
      * โรคเหงือกอักเสบ       * โรคที่เกิดในช่องปากอื่นๆ เช่น แผลร้อนใน รอยโรคต่างๆ   - การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก
    * การเลือกซื้อแปรงสีฟัน ยาสีฟัน
    * การแปรงฟันที่ถูกวิธี
    * ฟลูออไรด์กับการป้องกันฟันผุ
- การฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครอง    * แบ่งกลุ่มผู้ปกครองและเด็ก ออกเป็น ๒ กลุ่ม
* แปรงฟันครั้งที่ ๑ โดยเด็กแปรงเอง จากนั้นใช้สีย้อมฟัน ทาบริเวณฟัน แล้วให้บ้วนปาก หลังจากนั้นให้ผู้ปกครองตรวจดูความสะอาดหลังการแปรงฟัน * แปรงฟันครั้งที่ ๒ โดยผู้ปกครอง และตรวจความสะอาดช่องปากหลังการ แปรงฟัน ๔.๒.๔ ทดสอบความรู้เรื่องทันตสุขภาพหลังการอบรม ๔.๒.๕ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการทาฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ปีละ ๒ ครั้ง
  ๔.๓ ขั้นติดตามและประเมินผล
๔.๓.๑ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อให้มารดาหรือผู้ดูแลเด็กอายุ ๓-๔ ปี มีความรู้เรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสภาวะช่องปากเด็ก ๓-๔ ปีอย่างถูกต้อง ๒. เด็กอายุ ๓-๔ ปี ได้รับการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพอย่างเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2566 15:04 น.