กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ตำบลนิคมพัฒนา ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 90,000.00
รวมงบประมาณ 90,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุถือเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่า เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ ทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดังเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี ส่งเสริมให้ผู้สูงอายสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตที่ดีถือเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ ได้ เช่น การดูแลเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ การฝึกฝนเรื่องการจัดการความเครียด จัดการอารมณ์ให้ปกติ มีความสุขในทุก ๆ วัน การดูแลสุขภาพช่องปาก การหมั่นตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น การฝึกสมาธิ การฝึกกิจกรรม ต่างๆ ที่สนใจ เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อการทำงานของสมองที่ดี และมีความสุข การดูแลเรื่อง สิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงการงดดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ (คู่มือส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายีนยาว ,2564) ปีงบประมาณ 2566 ในพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา มีผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 1,013 คน จากผลการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL) เพื่อแยกประเภทของกลุ่มผู้สูงอายุพบว่า เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม (ช่วยเหลือตัวเองได้ดี ) จำนวน 990 คน คิดเป็นร้อยละ 97.73 กลุ่มติดบ้าน (ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง) จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 1.88 และกลุ่มติดเตียง จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.39 ซึ่งทางพื้นที่และภาคีเครือข่าย บริหารจัดการการดูแลกลุ่มติดบ้านและติดเตียงด้วยระบบการดูแล ผู้สูงอายุระยะยาวและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการขับเคลื่อนของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะ พึ่งพิงตำบลนิคมพัฒนา ส่วนในกลุ่มติดสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่ากับชุมชน การรวมกลุ่มจัดกิจกรรมสำหรับสูงอายุ จึงไม่ได้เป็นแค่เพียงเพื่อการรวมกลุ่มพบปะพูดคุยกันเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของ ผู้สูงอายุ และขยายกิจกรรมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว ยังมีการพัฒนาต่อๆ ไป เพื่อยืดส่งเสริมสุขภาพและยืดระยะเวลาการเจ็บป่วย หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อน ของผู้สูงอายุต่อไป ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลนิคมพัฒนาจึงมีแนวความคิดใน การดำเนินการภายใต้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเพิ่มความสามารถของผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะในการดูแลตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ โดยอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า "ผู้สูงอายุมีคุณค่าและมีศักยภาพ ควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้มีส่วนร่วมทำประโยชน์ให้สังคม และส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุ โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้สูงอายุสาระการเรียนรู้จะต้องทำให้ผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตปัจจุบัน เพิ่มโอกาสในการรวมกลุ่มใน ลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน อีทั้งยังลดการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา 2566 ขึ้น เพื่อต้องการให้ผู้สูงอายุที่ผ่านหลักสูตรสามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ อยู่ร่วมในครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างมีความสุข และสามารถเป็น ผู้สูงอายุต้นแบบให้กับ ชุมชนและสังคมได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้เพิ่มความสามารถ และส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของผู้สูงอายุ ๒. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพตนเอง ๓. เพื่อเสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเอง ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุจากการเข้าร่วมกิจกรรม

๑.ร้อยละ ๙๐ ของผู้สูงอายุ  เข้าร่วมอบรมตามเกณฑ์กิจกรรมกลุ่มทั้งหมด ๑ ครั้ง/สัปดาห์ ๒.ผู้สูงอายุมีความรุ้ในการส่งเสริมสุขภาพ  ได้อย่างถูกต้อง  เหมาะสม  ร้อยะ ๙๐ (ก่อน-หลังอบรม) ๓. ร้อยละ ๙๐ ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรม  มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับดีขึ้นไป

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ลดอัตราการเกิดปัญหาด้านสุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุทำให้มีสุขภาพแข้.แรงกระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย ๒. ผู้สูงอายุไ้คลายเหงา จิตใจกระชุ่มกระช่วย สดชื่น รู้สึกภาคภูมิใจ และตระหนักในคุณค่า และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย ได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกของกลุ่ม ๓. รู้เท่าทันและเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกืดขึ้น สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ๔. ผ้สูงอายุเกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวทาง วิธีการในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตจากกลุ่มอื่นๆถ่ายทอดประสบการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถ่นให้ดำรงสืบทอดเอกลักษณ์ของชุมชน เปิกโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมทั้งอาจเป็นแรงผลักดันให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2566 15:21 น.