กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กและเยาวชนลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา และยาเสพติด
รหัสโครงการ 66-L8412-04-009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรียา อีแมทา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“บุหรี่และยาเสพติด” ปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหาบุหรี่และยาเสพติดที่มีการระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่เด็กและเยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องมากที่สุดทั้งในมิติการเข้ารับการบำบัดและมิติการถูกจับกุมเมื่อจำแนกตามข้อหาในขั้นตอนจับกุมพบข้อหาเสพมากที่สุด รองลงมาคือข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย กัญชา มีผู้เข้าบำบัดกัญชาที่อายุต่ำกว่า 25 ปี โดยส่วนใหญ่เข้าบำบัดในระบบสมัครใจ อาชีพที่เข้ารับการบำบัดมากที่สุด ได้แก่ นักเรียน/นักศึกษา รองลงมา คือ รับจ้าง ผู้ใช้แรงงาน ไอซ์ มีแนวโน้มเพิ่มระบาดมากขึ้น โดยข้อหาในการจับกุมไอซ์ ส่วนใหญ่เป็นข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย อาชีพที่เข้ารับการบำบัดมากที่สุด คือ รับจ้าง รองลงมา คือ ว่างงาน ผู้ใช้แรงงานและนักเรียน นักศึกษาตามลำดับ เฮโรอีนมีผู้เข้ารับบำบัดเฮโรอีนมากที่สุด คือรับจ้างรองลงมาคือ ว่างงาน นักเรียนนักศึกษา ผู้ใช้แรงงานตามลำดับ
          นอกจากนั้น บุหรี่เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้จัดให้บุหรี่เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง ที่มีสารประกอบต่างๆ อยู่ประมาณ 4,000 ชนิด แต่อย่างไรก็ตามยังมีคนสูบบุหรี่ประมาณ 11,000 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลกทั้งหมด จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 5 ล้านคน และคาดว่าจะสูงเพิ่มขึ้น 10 ล้านคนต่อปีภายในปี ค.ศ. 2030 และอายุ15 ปีขึ้นไปมีประมาณ 1.8 พันล้านคน ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ (World Health organization : WHO, 2013) แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาก็ยังคงสูบบุหรี่กันอยู่และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพในแต่ละปีประมาณ หมื่นกว่าล้านบาท(Center for Disease Control and Prevention [CDC], 2015)ปัญหาการสูบบุหรี่เป็นยาเสพติดที่ไม่ผิดกฎหมายในประเทศไทย ทั้งยังหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป และร้านสะดวกซื้อ จากสถิติรายงานพบว่าปี 2560 มีจำนวนผู้บริโภคยาเสพติดอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวนกว่า 11 ล้านคน และมีแนวโน้มว่าผู้บริโภคยาสูบจะมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ นอกจากนี้จากสถิติยังพบอีกว่าปี 2560 จากผลการสำรวจ พบว่าจากจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 55.9 ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ 10.7ล้านคน (ร้อยละ 19.1) แยกเป็นผู้ที่สูบเป็นประจำ 9.4 ล้านคน(ร้อยละ 16.8) และเป็นผู้ที่สูบนานๆ ครั้ง 1.3 ล้านคน (ร้อยละ 2.2) กลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด(ร้อยละ 21.9) กลุ่มอายุ 45-59 ปี (ร้อยละ 19.1) และ 20-24 ปี(ร้อยละ 20.7) สำหรับกลุ่มผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป)ร้อยละ 14.4 กลุ่มเยาวชน (อายุ 15-19 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำสุด (ร้อยละ 9.7) ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง 22 เท่า (ร้อยละ 37.7และ 1.7 ตามลำดับ) อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลสูงกว่าในเขตเทศบาล (ร้อยละ 20.9และ 17.0 ตามลำดับ) อัตราการสูบบุหรี่สูงสุดในภาคใต้(ร้อยละ 24.5) รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ร้อยละ 21.1) ภาคกลางและภาคเหนือมีอัตราการสูบใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 17.6 และร้อยละ 17.1 ตำมลำดับ)กรุงเทพมหานครมีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำสุด (ร้อยละ 15.4)มีผู้สูบบุหรี่จำนวนสูงสุดเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา รองลงมาเป็นระดับมัธยมต้น ผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ มัธยมปลาย และระดับอุดมศึกษาตามลำดับ เมื่อบุหรี่เป็นสิ่งที่หาซื้อได้ง่าย ทำให้ทั้งกลุ่มเยาวชนและคนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้ง่าย การเดินไปซื้อบุหรี่ไม่ใช่เรื่องแปลก และได้รับการยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดคือการสูบบุหรี่นำมาซึ่งเรื่องน่ากลัวคือ การสูบบุหรี่เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การติดยาเสพติดอื่นๆ จากข้อมูลประมาณการจำนวนผู้ใช้ยาเสพติดในปี 2562 ซึ่งเป็นผู้ใช้ 20 ใน 30 วัน พบว่าผู้ที่มีอายุ 12- 24 ปี ใช้กระท่อมและน้ำกระท่อมมากที่สุด รองลงมา คือยาบ้าและกัญชาโดยพื้นที่ภาคใต้มีผู้ใช้กระท่อมและต้มน้ำกระท่อมมากกว่าผู้ใช้ยาบ้า (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, 2563) โดยสาเหตุของการเกิดปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน พบว่ามาจากหลายสาเหตุ จำแนกสาเหตุที่เกิดจากภายในจิตใจของตัวบุคคล เช่น ความคิด ความเชื่อ ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะการใช้ชีวิต นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากสิ่งเร้าของสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในสังคมที่มีอิทธิพล ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สถานศึกษา ชุมชนเป็นต้น ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมและเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจูงใจในการเริ่มต้นนำยาทางการแพทย์มาใช้ในทางที่ผิด เพราะอยากรู้อยากลอง
          จากข้อมูลการบำบัดยาเสพติดในพื้นที่ตำบลท่าสาป ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 - 2564 มี        จำนวนทั้งหมด 52 ราย ดังนี้ 32 ราย, 11 ราย, 7 ราย และ 2 ราย ตามลำดับ (ที่มา: ทะเบียนงานยาเสพติดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป) ที่ได้ผ่านกระบวนการบำบัดยาเสพติด นอกจากนี้ยังมีอีกหลายรายที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการบำบัด ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ชนิดของสารเสพติด ปริมาณ        การเสพสารเสพติด และระยะเวลาในการเสพติด เป็นต้น อีกทั้งกลุ่มเสี่ยงที่จะเข้าสู่วงจรยาเสพติดโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ และเป็นกลุ่มที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป ได้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันเด็กและเยาวชนหลงผิดเข้าสู่วงจรการซื้อขายและเสพบุหรี่และยาเสพติด จึงได้จัดทำโครงการเด็กและเยาวชนลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา และยาเสพติด เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และรู้จักทักษะการปฏิเสธในการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากบุหรี่และยาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงพิษภัยของบุหรี่และยาเสพติด

 

2 เพื่อส่งเสริมเด็กและเยาวชนมีทักษะในการปฏิเสธ หลีกเลี่ยงจากบุหรี่และยาเสพติด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงพิษภัยของบุหรี่และยาเสพติด 2.เด็กและเยาวชนมีทักษะในการปฏิเสธ หลีกเลี่ยงจากบุหรี่และยาเสพติด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 10:06 น.