กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวท่าสาปสุขภาพดี ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8412-04-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซานียะห์ มะแงสะแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 29 ก.ย. 2566 13,500.00
รวมงบประมาณ 13,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดของมนุษย์ การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาสังคม การดูแลสุขภาพเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ จนถึงเป็นผู้สูงอายุ ในทุกช่วงวัยก็จะมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านสุขภาพที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ประกอบกับการกินอาหารและการใช้ชีวิตในกิจวัตรประจำวัน ทำให้จำนวนของคนที่เป็นโรคต่างๆเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ หรือแม้แต่โรคปวดกล้ามเนื้อต่างๆ โดยพบว่าประชากรในประเทศไทยประมาณร้อยละ 43 มีอาการปวดกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่าอายุที่พบอาการปวดกล้ามเนื้อ มีแนวโน้มพบตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป พบมากในผู้สูงอายุ พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งสาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อต่างๆ พบว่าส่วนใหญ่มาจากอาชีพจากการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานและความเครียด นอกจากอาการปวดกล้ามเนื้อที่พบได้มากแล้ว อาการเจ็บป่วยเบื้องต้นทั่วไป เช่น ท้องอืด ท้องผูก ภูมิแพ้ ผื่นคัน หรืออาการอื่นๆที่ไม่รุนแรง ยังพบได้บ่อยในประชาชนที่มารับยาแผนปัจจุบัน จากข้อมูลผู้มารับบริการ ปี 2565 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าสาป หมู่ที่ 1, 2,3,4,5,6 พบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการมีอาการร่วมเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือดต่าง ๆ มากกว่าร้อยละ40 ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมารับยาแผนปัจจุบันเป็นประจำ อาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยทำงาน หากยิ่งอาการเพิ่มมากขึ้น อาจเกิดปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน หากมีวิธีที่ช่วยบรรเทาหรือลดอาการเจ็บปวดจากอาการปวดกล้ามเนื้อ จะช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่น อีกทั้งเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายในการรักษาของญาติ หรือผู้ดูแล นอกจากนี้ในกลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร พบว่า มีการใช้ยาแผนปัจจุบัน มีมากถึงร้อยละ 20 หากมีวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการ โดยไม่ใช้ยา ก็จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในระยะยาว       ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา หากกลุ่มต่าง ๆมีอาการที่รุนแรงตามมา ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ตลอดจนการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ จนไม่สามารถทำกิจวัตรด้วยตนเอง เป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะทุพพลภาพได้ จึงได้จัดทำโครงการชาวท่าสาปสุขภาพดี ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ความรู้และเป็นทางเลือกในการรักษาให้กับประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตัวเองและบุคคลในครอบครัวจากอาการปวดกล้ามเนื้อ และสามารถนวดรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้

 

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเลือกสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนในการดูแลตนเองและคนรอบข้างได้และอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น อาทิเช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ภูมิแพ้ ได้

 

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้แก่บุคคลในครอบครัวและชุมชนได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ และมีส่วนร่วมในการดูแลสมาชิกในครอบครัว โดยใช้วิธีการนวดเบื้องต้นได้
  2. ประชาชนสามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนในการดูแลตนเองและคนรอบข้างได้
  3. ประชาชนมีสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้แก่บุคคลในครอบครัวและชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 10:14 น.