กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L2502-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กาหนั๊วะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 46,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิด๊ะห์ ดือเระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ถือว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญในภาคการเกษตรของประเทศไทย สาเหตุหลักเกิดจากการปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง  ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมี ปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่าง เช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยน เสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เมื่อร่างกายสะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ  โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาหนั๊วะ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวน ปลูกพืชผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมรูปแบบการเกษตรทำเพื่อการบริโภค มาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิต จึงจำเป็นต้องมีการใช้สารเคมีในการกระตุ้นการเจริญเติบโต ประกอบกับมีการระบาดของศัตรูพืช จึงมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชก็เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง จากเหตุผลข้างต้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาหนั๊วะ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพ และเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ร้อยละของเกษตรกรได้การตรวจสารพิษตกค้างในเลือด ร้อยละ 100

2 เพื่อให้เกษตรกรและแรงงานนอกได้รับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือด

ร้อยละของเกษตรกรได้การตรวจสารพิษตกค้างในเลือด ร้อยละ 100

3 เพื่อให้ได้รับความรู้ ให้ทุกคนตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้าง ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีอันตรายในการเกษตรกร และหันมาใช้ปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติ รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช

ร้อยละของเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง ร้อยละ 90

4 เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตร

เกษตรกรมีผลเลือดระดับปกติและปลอดภัย ร้อยละ 70

5 เพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

เกษตรกรมีพฤติกรรมการป้องกันการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เกษตรกรและแรงงานนอกได้รับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ได้รับความรู้ ให้ทุกคนตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้าง ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีอันตรายในการเกษตรกร และหันมาใช้ปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติ รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากสารเคมีทางการเกษตร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : เพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรมดำเนินงาน ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน     2.จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกาลิซา 3. ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง         4. สำรวจกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีในเขตรับผิดชอบ         5. จัดทำทะเบียนเกษตรกรรายหมู่บ้านและทำการคัดกรองเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ขั้นดำเนินการ 1. ดำเนินการคัดกรองเกษตรกรรายหมู่บ้าน 2. เจาะเลือดตรวจหาสารเคมีเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี 3. บันทึกสุขภาพเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการเจาะเลือด รักษาโดยใช้สมุนไพรและนัดติดตามผลอย่างต่อเนื่อง 4. จัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีและกลุ่มไม่ปลอดภัย ขั้นหลังดำเนินการ 1. สรุปผลการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรและข้อมูลพฤติกรรมปัจจัยเสี่ยง 2. สรุปผลการคัดกรอง และแปรผลการคัดกรองเป็น รายหมู่บ้าน 3. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
4. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลากาลิซา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพที่ได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต ร้อยละ 80
  2. เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพได้มีรู้เรื่องเกี่ยวกับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  3. เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพได้รับการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างและได้รับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ
  4. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ
  5. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงจากการใช้และบริโภคยาฆ่าแมลง
  6. กลุ่มเสี่ยงได้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการประกอบอาชีพ การบริโภคอาหาร เกี่ยวกับการใช้ยาฆ่าแมลง
  7. กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อกรณีที่มีปัญหาสุขภาพจากการใช้ยาฆ่าแมลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 10:24 น.