กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนขยะ (ลดแหล่งพาหะนำโรค) Reduce Carrier Garbage School (RCGS) ตำบลบ้านนา ประจำปี 2566
รหัสโครงการ L3363-2566-2007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักธรรมนูญตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 ตุลาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 24,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพโรจน์ ราชเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอรวรรณ จันทรธนู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลบ้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 29 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ตำบลบ้านนา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 117 ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 3137 ครัวเรือน มีประชากรรวม 7470 คน มีโรงเรียน 3 โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ศูนย์ มีวัด 4 วัด มีถ้ำ 3 ถ้ำ มีตลาดนัดเอกชนจำนวน 1 แห่ง มีส่วนราชการต่างๆ ได้แก่ รพ. ศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ), รพ.สต.บ้านลำใน, ทัณฑสถานเปิดบ้านนาวง, แขวงการทางศรีนครินทร์ มีคลอง 1 สายหลัก คือ คลองวงศ์
    สถานการณ์ปัญหาขยะของพื้นที่ตำบลบ้านนา เทศบาลตำบลบ้านนาได้จัดเก็บขยะในพื้นที่ตำบลบ้านนาทุกวันจันทร์ - วันเสาร์ ปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 2-3 ตัน/วัน โดยรถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอยแบบอัดท้าย ขนาดความจุ 6 ตัน จำนวน 1 คัน สถานที่กำจัดโดยวิธีฟังกลบขอใช้บริการสถานที่เอกชนภายนอกตำบลบ้านนา มีพนักงานเก็บขยะจำนวน 2 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะเช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าซ่อมแซมรถ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ทิ้งขยะ รวมค่าใช้จ่าย 954,392 บาทต่อปี ประชาชนในตำบลยังไม่มีการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือนอย่างจริงจัง ทำให้เกิดปัญหาขยะมีปริมาณมากขึ้นทุกปี (ปริมาณขยะในปีงบประมาณ 2563 จัดเก็บได้ 653.19 ตัน ปีงบประมาณ 2564 จัดเก็บได้ 682.87 ตัน) มีผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน จากสถิติการเจ็บป่วยเมื่อปี 2563 มีไข้เลือดออกจำนวน 25 คน มีค่าใช้จ่ายในการควบคุมการระบาดของโรคปีนึงประมาณ 81,580 บาทต่อปี และมีผลกระทบต่อสังคม เรื่องรถเก็บขนขยะไม่สามารถเก็บขนขยะได้ตามปกติ เนื่องจากเข้าซ่อมบำรุงรักษาเป็นประจำทุกเดือน จากปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากประชาชนขาดความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี ความสะดวกซื้อสะดวกใช้ เจ้าของตลาดนัทไม่ให้ความร่วมมือ แม่ค้าขาดความรับผิดชอบในการคัดแยกขยะ ชาวบ้านยังไม่นิยมนำถุงผ้าหรือตะกร้ามาจากบ้านในการจ่ายตลาด
    สำนักธรรมนูญตำบลบ้านนา ได้ให้ความสำคัญในการจัดการขยะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ปริมาณขยะลดลง โดยให้เกิดกลไกการจัดการขยะในระดับครัวเรือน/ระดับชุมชน และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ มีนาฬิกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะในระดับตำบลที่เข้มแข็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

50.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66
1 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะผ่านโรงเรียนขยะตำบล(25 เม.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 15,050.00              
2 กิจกรรมขยะแลกไข่(1 พ.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 4,800.00              
3 กิจกรรมรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อม(7 มิ.ย. 2566-7 มิ.ย. 2566) 3,000.00              
4 กิจกรรมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(1 ก.ย. 2566-31 ต.ค. 2566) 1,500.00              
รวม 24,350.00
1 กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะผ่านโรงเรียนขยะตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 210 15,050.00 1 2,150.00
25 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 เรียนรู้การจัดการขยะผ่านโรงเรียนขยะตำบล 210 15,050.00 2,150.00
2 กิจกรรมขยะแลกไข่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 210 4,800.00 1 2,350.00
1 มิ.ย. 66 - 31 ต.ค. 66 กิจกรรมขยะแลกไข่ 210 4,800.00 2,350.00
3 กิจกรรมรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 3,000.00 1 2,000.00
7 มิ.ย. 66 รณรงค์เก็บขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อม 40 3,000.00 2,000.00
4 กิจกรรมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,500.00 1 750.00
1 ก.ย. 66 - 31 ต.ค. 66 กิจกรรมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 30 1,500.00 750.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีคณะทำงานที่มีตัวแทนจากท้องที่ และท้องถิ่นร่วมขับเคลื่อนการจัดการขยะที่เข้มแข็ง
  2. ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบมีความรู้ มีความตระหนัก รักษาความสะอาดภายในและนอกครัวเรือนของตนเองและปรับปรุงสภาพแวดล้อมสะอาดถูกหลักสุขา พี่บางครัวเรือนได้ร้อยละ 60 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
  3. ครัวเรือนสามารถจัดการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้ร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
  4. ปริมาณขยะที่ทางเทศบาลต้องนำไปกำจัดลดลงร้อยละ 10 ของปีที่ผ่านมาทำให้ไทยจ่ายค่าทิ้งขยะลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 10:40 น.