กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตรวจคัดกรองปัญหาสายตาและป้องกันภาวะผิดปกติทางการมองเห็นในผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L7012-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 42,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาตีกอห์ มะลอทิม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 42,400.00
รวมงบประมาณ 42,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงตามวัยในระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงระบบการมองเห็น บุคลากรทีมสุขภาพหรือผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางตาหรือปัญหาทางตาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยในการสร้างเสริมสุขภาพทางตา และช่วยส่งเสริมให้บุคคลก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เป็นภาระพึ่งพาของครอบครัวหรือสังคมผู้สูงอายุและการเปลี่ยนแปลงทางตา ปัญหาทางตาของผู้สูงอายุ ผลกระทบจากปัญหาทางตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพตาในผู้สูงอายุ โรคและปัญหาทางตาที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ มีดังนี้ 1) สายตาสูงวัยหรือสายตายาวตามอายุ สายตาสูงวัย หรือสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าเป็นสายตายาว แต่แท้จริงเป็นการเสื่อมสภาพตามอายุ เกิดกับทุกคนที่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไปจากการที่เลนส์แก้วตาขาดความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อในตาที่ช่วยปรับกำลังของตาในการมองใกล้ทำงานแย่ลง ทำให้ต้องใส่แว่นตาเวลามองใกล้ เพื่อปรับเปลี่ยนกำลังรวมแสงให้เพิ่มขึ้นเมื่ออยากมองใกล้ สายตาสูงวัยเกิดได้กับทุกคน ทั้งกับคนที่เดิมสายตาปกติ สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง แก้ไขโดยการใช้เลนส์ที่มีกำลังรวมแสงมากขึ้น ในผู้มีสายตาปกติ แต่มีสายตาสูงวัยเมื่ออายุมากขึ้น แก้โดยใส่แว่นสำหรับการมองใกล้ (มองไกลไม่ต้องใส่) หรือจะใส่เลนส์ชัดหลายระยะ เพื่อการมองเห็นได้ทั้งไกลและใกล้ ในผู้ที่มีสายตาสั้น ยาว เอียงอยู่เดิมแล้วมีสายตาสูงวัย จะต้องมีการปรับค่าแว่น จากเดิมก่อนมีสายตาสูงวัย จะมีแว่นอันเดียว มองไกลได้ และเพ่งมองใกล้ได้เอง พอมีสายตาสูงวัย ต้องเปลี่ยนเป็นแว่นหลายระยะ (Progressive Glasses) หรือ 2 ระยะ (Bifocal Glasses) เพื่อให้มองได้ทั้งไกลและใกล้ หรือเดิมใส่คอนแทคเลนส์แก้สายตาสั้น ยาว เอียง มองได้ชัดทั้งไกลและใกล้ เมื่อมีสายตาสูงวัยร่วมด้วย ถ้าจะมองใกล้จะต้องใส่แว่นสายตายาว (กำลังเป็นบวก) เพื่อให้มองใกล้ได้ หรือต้องมีการปรับค่าคอนแทคเลนส์ หรือเปลี่ยนชนิดคอนแทคเลนส์เป็นชัดหลายระยะ หรืออาจแก้ไขด้วย FemtoLASIK แก้สายตายาวตามอายุ (FemtoLASIK with presbyond) ถ้าไม่อยากใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์   2) ต้อกระจก (Cataract)   ต้อกระจก (Cataract) เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้เลนส์แก้วตาแข็งและขุ่นขึ้น สายตาจึงมัวลง จะเร็วหรือช้า มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นฝ้าในเนื้อเลนส์ ถ้าเป็นต้อกระจกบริเวณขอบรอบนอก ผู้ป่วยจะยังมีสายตาที่คมชัดเป็นปกติ แต่ถ้าเป็นบริเวณตรงกลางเนื้อเลนส์จะรบกวนสายตามาก
อาการที่พบได้บ่อยของต้อกระจก ได้แก่ สายตามัวหรือเห็นภาพซ้อน จะมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง ตาสู้แสงไม่ได้ ทำให้มีปัญหาในการขับขี่ยานพาหนะโดยเฉพาะกลางคืน เห็นสีผิดไปจากเดิม ต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ๆ ต้อกระจกบางชนิดทำให้สายตาสั้นมากขึ้นมาก ๆ ได้ ต้อกระจกส่วนใหญ่ที่เกิดตามวัยจะเป็นมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น สายตาจะมัวลงเรื่อย ๆ การผ่าตัดสลายต้อกระจกเป็นวิธีการรักษา จะทำเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้สายตาของผู้ป่วย ปัจจุบันการผ่าตัดใช้เครื่องสลายต้อ แผลผ่าตัดเล็ก ผ่าตัดรวดเร็วโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ และไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หลังสลายต้อแพทย์จะใช้เลนส์แก้วตาเทียมแทนที่ ซึ่งเลนส์มีหลายแบบให้เลือกตามความต้องการในการใช้งานของแต่ละบุคคล ถ้าต้อกระจกสุกแล้วจำเป็นต้องผ่าตัดโดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยไว้นอกจากจะเกิดอาการปวดตาอย่างรุนแรงแล้ว อาจเกิดต้อหินแทรกซ้อนได้ ปัจจุบันแนะนำให้ตรวจตาเป็นระยะ ๆ เมื่อเข้าสู่วัยที่มากขึ้น ทำให้รักษาได้ทันท่วงที หรือตั้งแต่เป็นระยะแรก ไม่ต้องรอต้อสุกจนเกิดปัญหารุนแรง 3) ต้อหิน
  ต้อหิน (Glaucoma) เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด ส่วนใหญ่มีความดันลูกตาสูง ซึ่งอาการที่สามารถสังเกตได้ คือ หากเป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน จะปวดตา ตามัวลง และเห็นรุ้งรอบดวงไฟ อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยได้ เนื่องจากความดันตาสูงมาก ในกรณีที่เป็นต้อหินชนิดรุนแรงเฉียบพลัน รักษาโดยการใช้ยาหยอดตาและยารับประทานเพื่อลดความดันในลูกตา บางรายจำเป็นต้องรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์และการผ่าตัด ความน่าสนใจของโรคต้อหิน คือ ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยไม่มีอาการเลย เหมือนภัยเงียบค่อย ๆ ทำลายเส้นประสาท โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ต้อหินเฉียบพลันพบบ่อยในคนเอเชียและปัจจุบันพบในคนอายุน้อย (เช่น เริ่มตั้งแต่อายุ 30 กว่า ๆ) เพิ่มมากขึ้น และพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น   4) น้ำวุ้นตาเสื่อม
  น้ำวุ้นตาเสื่อม (Vitreous Floaters) เกิดจากวุ้นตาที่มีลักษณะเป็นเจลหนืดใสเหมือนวุ้นอยู่ภายในส่วนหลังของลูกตาโดยอยู่ติดกับจอประสาทตาที่ล้อมรอบมันอยู่เสื่อมลง เมื่อวุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) น้ำวุ้นในตามีการเปลี่ยนสภาพ บางส่วนจะกลายเป็นของเหลวและบางส่วนจับเป็นก้อนหรือเป็นเส้นเหมือนหยากไย่ และวุ้นตาอาจจะหดตัวลอกออกจากผิวจอประสาทตา ทำให้มองเห็นเป็นเงาดำ จุดเล็ก ๆ เส้น ๆ วง ๆ หรือเส้นหยากไย่ลอยไปลอยมา ขยับไปมาได้ตามการกลอกตา หรือมีแสงวาบคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป ความน่าสนใจคือสาเหตุของโรคมักเกิดจากความเสื่อมตามวัย พบมากในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และกลุ่มสายตาสั้น แต่ปัจจุบันผู้ที่เป็นโรคนี้อายุน้อยลงเรื่อย ๆ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่เข้ารับการรักษาอาจร้ายแรงถึงขั้นจอประสาทตาฉีกขาด หลุดลอก และสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ ดังนั้นจึงควรตรวจคัดกรองเมื่อมีอาการดังกล่าว และจำเป็นต้องได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์โดยเร็วว่ามีจอประสาทตาฉีกขาด หรือเป็นรู หรือหลุดลอกหรือไม่ ถ้ามีต้องรักษาต่อไป เช่น ถ้ามีรอยฉีกหรือรูที่จอตาจะรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ แต่ถ้าพบมีจอตาหลุดลอกก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด   5) จุดรับภาพเสื่อมตามวัย
  จุดรับภาพเสื่อมตามวัย (Age – Related Macular Degeneration : AMD) เกิดจากจุดรับภาพบริเวณกลางจอประสาทตาเสื่อม มักเป็นไปตามวัย พบมากในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น อาการที่สังเกตได้คือ มองภาพไม่ชัด มองเห็นบิดเบี้ยว ตาพร่ามัว มีจุดดำหรือเงาตรงกลางภาพ ซึ่งจอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคที่ต้องรีบทำการรักษากับจักษุแพทย์โดยเร็วเพื่อรักษาและช่วยควบคุมไม่ให้ การมองเห็นแย่ลงจนรบกวนคุณภาพชีวิต ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาจอประสาทตาเสื่อมให้หายขาด การป้องกันดูแลที่ดีที่สุดคือ การตรวจคัดกรองและรักษาดูแลดวงตา เลี่ยงแดดจ้า ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ จะช่วยชะลอความเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้   6) เบาหวานขึ้นตา   เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน พบในผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีสาเหตุจากการที่น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดและระบบประสาทเสื่อมลง ส่งผลให้ชั้นจอประสาทในลูกตาเกิดความเสื่อม ถ้าทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ตามัวและตาบอดได้ ความน่าสนใจของโรคนี้คือ ผู้ป่วยเบาหวานบางคนไม่เคยตรวจตาจึงไม่ทราบว่าการมองเห็นแต่ละข้างเป็นอย่างไร เพราะโดยรวม 2 ข้างยังมองยังเห็นอยู่ แต่อาจมีด้านหนึ่งที่แย่กว่าแล้ว และบางคนรู้สึกว่ามองเห็นโดยรวมยังปกติจึงไม่มาพบจักษุแพทย์ ทำให้บางครั้งรักษาช้าเกินไปและตาบอดได้ในที่สุด (โดยทั่วไปผู้ป่วยเบาหวานต้องตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง หรือบ่อยกว่านั้นถ้าเริ่มมีเบาหวานขึ้นตา) ซึ่งการตรวจคัดกรองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงควบคุมโรคเบาหวานให้ดีจะช่วยลดความเสียหายและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้กับตาและอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งเบาหวานขึ้นตามีความรุนแรงแตกต่างกัน ถ้าเริ่มเข้าขั้นรุนแรง จักษุแพทย์สามารถยิงเลเซอร์ช่วยชะลอปัญหาเบาหวานขึ้นตาได้ หรืออาจมีการฉีดยาเข้าน้ำวุ้นตาเพื่อรักษาจุดรับภาพบวมจากเบาหวานขึ้นตาได้ การรักษาขึ้นอยู่กับระยะความรุนแรงของโรค ถ้าเป็นมากมีเลือดออกหรือจอตาหลุดลอกอาจต้องผ่าตัด   7) ตาแห้ง   ตาแห้ง (Dry Eyes) เป็นโรคตาที่พบได้บ่อยในกลุ่มสูงวัยและในวัยทำงาน มีอาการไม่สบายตา ระคายเคือง เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา แสบตาหรืออาจน้ำตาไหลมากได้ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การทำงานผิดปกติของต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian Gland Dysfunction) การใส่คอนแทคเลนส์ การใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์นาน ๆ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือโรคและการรับประทานยาบางชนิด พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย หากปล่อยไว้ไม่ได้รักษาอาจทำให้การมองเห็นมัวลง มีการอักเสบของเยื่อบุตาหรือกระจกตา สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยการตรวจตาอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์ รวมทั้งอาจมีวัดปริมาณและคุณภาพของน้ำตา การรักษาตาแห้งขึ้นกับสาเหตุ มักต้องใช้น้ำตาเทียมร่วมด้วย ปรับพฤติกรรมการใช้งาน หรือประคบอุ่น นวด และทำความสะอาดเปลือกตากรณีมีเปลือกตาผิดปกติ   8) ต้อเนื้อ ต้อลม   ต้อเนื้อ (Pterygium) คือ ความเสื่อมสภาพของเยื่อบุตา ทำให้มีเนื้อเยื่อผิดปกติเป็นเยื่อสีแดงยื่นเข้าไปในตาดำเป็นรูปสามเหลี่ยม ค่อย ๆ ลุกลาม ถ้าเป็นมากใกล้หรือบังปิดรูม่านตา การมองเห็นจะผิดปกติ มีสายตาเอียงมากขึ้นหรือตามัวลงมาก ต้อเนื้อพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา โรคนี้มีความสัมพันธ์กับแสงแดด แสงอัลตราไวโอเลต ทำให้เยื่อบุตาเสื่อมสภาพลง พบบ่อยในเขตร้อนและผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง พบเจอทั้งแสงแดด ลม ฝุ่น ควัน ทราย พบมากในผู้ที่มีอายุ 30 – 35 ปี ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นคือ ตาแดง ระคายเคือง ไม่สบายตา ถ้าเป็นมากจะเห็นภาพไม่ชัด
ส่วนต้อลม (Pinguecula) คือ การเสื่อมสภาพเช่นเดียวกับต้อเนื้อ แต่ยังไม่ลุกลามเข้าตาดำเป็นอยู่บริเวณเยื่อบุตาเท่านั้น จึงมีอาการแค่ระคายเคือง แต่ตาไม่มัวลง ถ้าเป็นรุนแรงยื่นเข้าตาดำจะกลายเป็นต้อเนื้อ โรคตาต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้เสมอ การตรวจคัดกรองความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคตาช่วยให้ดูแลรักษาได้ทันท่วงทีและป้องกันการสูญเสียดวงตา โดยเฉพาะผู้สูงวัยแนะนำให้ตรวจคัดกรอง โรคตาเป็นประจำทุกปีเพื่อดูว่ามีภาวะผิดปกติที่ควรรักษาหรือไม่ ซึ่งการตรวจคัดกรองดวงตา ไม่เพียงช่วยให้ค้นพบความผิดปกติของดวงตาในระยะเริ่มแรก แต่ยังช่วยให้ค้นพบโรคเกี่ยวกับดวงตาในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ต้องพบกับความเสื่อมของตาตามวัย
อนึ่งจากผลการสำรวจผู้ประสบปัญหาทางสายตาในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุและคนทุกช่วงวัยอาจมีความผิดปกติทางตาแตกต่างกัน เช่น ปัญหาสายตาในเด็ก ตาเข ตาเหล่ หรือในวัยเรียนวัยทำงาน เช่น สายตาล้า ตาแห้ง หรือการมองเห็นผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ยาว เอียง หรือในกลุ่มอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปก็จะมีสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) การดูแลสุขภาพตาและตรวจตาเป็นระยะ ทำให้รู้ก่อนและแก้ไขปัญหาก่อนจะสายเกินไป
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ่อทอง ร่วมกับ ศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบ่อทอง หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ อสม.ตำบลบ่อทอง และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพชุมชน ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของสภาพปัญหาทางสายตาในชุมชนเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง จึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรองปัญหาสายตาและป้องกันภาวะผิดปกติทางการมองเห็นในผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับดูแลรักษาสุขภาพดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการมองเห็น โดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสายตา และการตรวจคัดกรองปัญหาสายตาและป้องกันภาวะผิดปกติทางการมองเห็นในผู้สูงอายุ และสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่สุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุในภาพรวมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับดูแลรักษาสุขภาพดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการมองเห็น โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางสายตา

 

2 2. เพื่อตรวจคัดกรองปัญหาสายตาและป้องกันภาวะผิดปกติทางการมองเห็นในผู้สูงอายุโดยผู้เชี่ยวชาญทางตาด้วยเครื่องตรวจวัดสายตาระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย และมีโอกาสในการปรึกษาปัญหาด้านสายตารวมถึงการตรวจวัดสายตาอย่างถูกวิธี พร้อมประกอบแว่นให้กับประชาชนที่มีปัญหาทางสายตาเพื่อเป็นการส่งผู้ประสบปัญหาทางสายตาที่ได้รับการตรวจคัดกรองแล้วไปรับการรักษาที่สถานพยาบาล/โรงพยาบาลได้อย่างทันถ่วงทีป้องกันไม่ให้โรคตารุกรามเพิ่มมากขึ้น

 

3 3. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพทางตา และช่วยส่งเสริมให้บุคคลก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เป็นภาระพึ่งพาของครอบครัวหรือสังคม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพดวงตา(19 พ.ค. 2566-19 พ.ค. 2566) 21,350.00            
2 ประกอบแว่นสายตาสำหรับผู้สูงอายุและประชาชนที่มีความเสี่ยง(22 ส.ค. 2566-22 ส.ค. 2566) 21,050.00            
รวม 42,400.00
1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพดวงตา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 21,350.00 1 21,350.00
19 พ.ค. 66 กิจกรรมให้ความรู้ 100 21,350.00 21,350.00
2 ประกอบแว่นสายตาสำหรับผู้สูงอายุและประชาชนที่มีความเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 21,050.00 1 21,050.00
22 ส.ค. 66 ประกอบแว่นสายตาสำหรับผู้สูงอายุและประชาชนที่มีความเสี่ยง 100 21,050.00 21,050.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 0.00
1 - 30 เม.ย. 66 ประชาสัมพันธ์/คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 0.00
31 ส.ค. 66 ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน 0 0.00 0.00

วิธีดำเนินการ 1. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบ่อทอง และภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการฯ 2. จัดทำโครงการฯ เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรมโดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 4. จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมให้ความรู้ และการตรวจคัดกรองสายตาผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสายตา พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางสายตา 5. จัดอบรมให้รู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพดวงตา การตรวจคัดกรองปัญหาสายตา นำผลการประเมินของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางสายตามาดำเนินการแก้ไขปัญหาสายตา ให้แก่ผู้สูงอายุ (1) การประกอบแว่นสายตายาว สายตาสั้นหรือสายตาเอียง (2) การส่งต่อผู้สูงอายุที่ตรวจพบต้อกระจก ให้ได้รับการลอกต้อกระจกอย่างทั่วถึง 6. สรุปผลการตรวจประเมินคัดกรองสายตา
7. ติดตามและประเมินผลโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้สูงอายุตำบลเกาะสำโรงที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมได้รับความรู้เกี่ยวกับดูแลรักษาสุขภาพดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการมองเห็น จากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางสายตา
  2. กลุ่มผู้สูงอายุตำบลเกาะสำโรง ได้ตรวจคัดกรองปัญหาสายตาและป้องกันภาวะผิดปกติทางการมองเห็นในผู้สูงอายุโดยผู้เชี่ยวชาญทางตาด้วยเครื่องตรวจวัดสายตาระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย และมีโอกาสในการปรึกษาปัญหาด้านสายตารวมถึงการตรวจวัดสายตาอย่างถูกวิธี พร้อมประกอบแว่นให้กับประชาชนที่มีปัญหาทางสายตาเพื่อเป็นการส่งผู้ประสบปัญหาทางสายตาที่ได้รับการตรวจคัดกรองแล้วไปรับการรักษาที่สถานพยาบาล/โรงพยาบาลได้อย่างทันถ่วงทีป้องกันไม่ให้โรคตารุกรามเพิ่มมากขึ้น
  3. กลุ่มผู้สูงอายุตำบลเกาะสำโรง ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพทางตา และช่วยส่งเสริมให้บุคคลก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เป็นภาระพึ่งพาของครอบครัวหรือสังคม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 11:40 น.