กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชมชนใต้ควน
รหัสโครงการ L7886/66/2/19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสามัครสาธารณสุขชุมชนใต้ตวน
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 สิงหาคม 2566 - 15 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารุณี ปีไสย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ส.ค. 2566 15 ส.ค. 2566 11,000.00
รวมงบประมาณ 11,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนมากกว่าหลายๆปีที่ผ่านมาพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้วิถีชีวิต และการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ส่งผลให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป เริ่มตั้งแต่การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมมาตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน การขาดการออกกำลังกาย ทำให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่อายุยืน แต่มีภาวะของโรคประจำตัว ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่า โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อม ฯลฯดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็น เนื่องจากผู้สูงอายุในพื้นที่กลับมีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น ทั้งทางด้านร่างกาย และสุขภาพทางด้านจิตใจ ที่มีผลสืบเนื่องมาจากสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นผู้สูงอายุที่ติดบ้านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลรอบข้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนปัญหาด้านสุขภาพจะมีมากกว่านี้ ถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้วครอบครัวและสังคมไทยจะมีความสุข และทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมาเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและส่งเสริมสถาบันครอบครัว ให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นการดำเนินการด้านสาธารณสุขเชิงรุกให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการพัฒนาการบริการสาธารณสุข โดยเน้นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การที่ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายใจ ที่ดีขึ้น คลายความรู้สึกหดหู่ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อชุมชน ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน เพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

60.00 1.00
2 เพื่อประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL)

ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานในเรื่องที่จำเป็นอย่างน้อยร้อยละ 80

60.00 1.00
3 เพื่อวางแผนการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่เหมาะสม

มีแผนปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่เหมาะสม

60.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 11,000.00 1 11,000.00
15 ส.ค. 66 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพของผู้สูงอายุและการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(ADL) 60 11,000.00 11,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง 2 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม 3 ผู้สูงอายูได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพร่วมกัน 4.ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) 5.สามารถวางแผนการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่เหมาะสม 6 ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 00:00 น.