กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงความดัน,เบาหวาน ชุมชนหมู่ที่ 6 ตำบลนิคมพัฒนา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13,930.00
รวมงบประมาณ 13,930.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการ รักษาที่ไม่ถูกต้อง จะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ . เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอดไตวายและถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมันและหวาน สาเหตุคือ ความเคยชิน มีความจำเป็นต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเอง จึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูปมารับประทานรวมถึงการขายการออกกำลังและไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จากสถานการณ์โรคเรื้อรังในพื้นที่หมู่ที่ ๖ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕ พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ๗ ราย (๒๕๖๓-๒ ราย,๕๖๔-๓ ราย,๒๕๖๕-๒ ราย) และพบผู้ป่วยความดันโลหิต สูงรายใหม่ ๑๔ ราย (๒๕๖๓=๖ ราย,๒๕๖๔-๔ ราย,๒๕๖๕-๔ ราย) และในปี ๒๕๖๖ ทางชมรมอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ตำบลนิคมพัฒนา มีการให้บริการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้น ไป จำนวน๑๙๑ คน พบว่า กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน ๖๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๕๐ ดังนั้นเพื่อเป็นสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสียงสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนผ่านกระบวนการให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งเพื่อลดผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันสูงรายใหม่ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงความดันเบาหวาน ชุมชนหมู่ที่ ๖ ตำบลนิคมพัฒนา ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิต/เบาหวาน มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น ๒. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ลดจำนวนกลุ่มป่วโรคความดันโลหิตสูง เยาหวาน ในชุมชน ๒. กลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้นและสามารถแนะนำความรู้กับบุคคลในครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 15:14 น.