กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก


“ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566 ”

ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางจินดาพัฒน์ แม่ลิ่ม

ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566

ที่อยู่ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 66-L3330-1-7 เลขที่ข้อตกลง 5/2556

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 25 กรกฎาคม 2566 ถึง 27 กรกฎาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 66-L3330-1-7 ระยะเวลาการดำเนินงาน 25 กรกฎาคม 2566 - 27 กรกฎาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 38,350.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบการระบาดในฤดูฝนผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลาหน้าแดงปวดศีรษะเบื่ออาหารอาเจียนซึมถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จากข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี 2566 ของกรมควบคุมโรค (ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 28 ก.พ.66) พบผู้ป่วยจำนวน 6,156 ราย เสียชีวิต 4 ราย กลุ่มอายุที่อัตราป่วยพบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 5-14 ปี, 15-24 ปี และ 0-4 ปี คิดเป็น ร้อยละ 27.81, 16.39 และ12.76 ตามลำดับ อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชายเป็น 1:1.10 พื้นที่ที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ กรุงเทพฯ, ภาคใต้, ภาคกลาง, ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 23.84, 16.33, 14.07, 4.60 และ1.51 ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายเดือนในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 พบว่า ในเดือนมกราคมมีผู้ป่วยมากกว่าปีที่แล้ว 6.6 เท่า “การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ คาดว่าในช่วงนี้มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และจากข้อมูล การสำรวจลูกน้ำยุงลาย ผ่านแอปพลิเคชัน อสม./อสส. ออนไลน์ สัปดาห์ที่ 8 จำนวนบ้าน 394,045 หลังคาเรือน พบบ้านที่มีลูกน้ำยุงลายจำนวน 33,661 หลังคาเรือน คิดเป็น House Index : HI ได้ร้อยละ 8.54 และได้ทำการสำรวจภาชนะจำนวน 4,332,352 ชิ้น พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายจำนวน 208,425 ชิ้น คิดเป็น Container Index : CI ได้ร้อยละ 4.81 (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ก.พ.66)
สำหรับจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ 1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2566มีผู้ป่วย จำนวน 129 ราย คิดมีอัตราป่วย 24.60 ต่อแสนประชากรอำเภอบางแก้ว มีผู้ป่วยจำนวน 8 รายคิดเป็นอัตราป่วย 30.10 ต่อแสนประชากร เป็นอันดับที่ 4 ของจังหวัด (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง, 2566) ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง มีผู้ป่วย จำนวน 5 ราย อัตราป่วย 56.8 ต่อแสนประชากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง มีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 3 หมู่บ้าน จำนวน 570 หลังคาเรือนโรงเรียน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง จากข้อมูลรายงาน 506 ตั้งแต่ 1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์2566 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือด จำนวน 4 รายอัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ค่าดัชนี้ลูกน้ำยุงลาย ทั้ง HI และ CI เกินค่ามาตรฐานทุกปีชุมชนได้ดำเนินการกิจกรรม ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชน ร่วมดำเนินการในรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและควบคุมโรคกรณีมีผู้ป่วย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนยังเกินค่ามาตรฐาน (CI ≤10) ภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเหลือใช้บริเวณรอบบ้าน เช่น ยางรถยนต์ แก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ เป็นต้น และยังพบว่าประชาชนในบางครัวเรือนยังขาดความตระหนักการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและรอบบ้านให้เรียบร้อย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำที่บ้านของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ยังคงมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก จึงจัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566 ขึ้น เพื่อดำเนินงานป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยเน้นให้ชุมชนประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ช่วยลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านส่งผลให้อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
  2. มอบทรายอะเบทให้กับตัวแทนหมู่บ้าน/อสม.เพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะ ใส่น้ำในครัวเรือน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 190
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ อสม.ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน หมู่ที่ 4 บ้านต้นสน หมู่ที่ 8
บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ และ หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน ตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน  ตำบลโคกสัก  อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง  ปี 2566
วันที่ 25 -26 กรกฎาคม 2566  ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน โดยจัดแบ่งเป็น รุ่น ๆละ 75 คน
เรื่องธรรมชาติการเกิดโรคและความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคมโรคไข้เลือดออก -ทางกายภาพ -ทางชีวภาพ -ทางเคมี -การระดมสมอง การกำหนดมาตราการหมู่บ้าน ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีการจัดประชุมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ อสม.ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน หมู่ที่ 4 บ้านต้นสน หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ และ หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้จำนวน 150 คน ผลลัพธ์ อสม.ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน หมู่ที่ 4 บ้านต้นสน หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ และ หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน มีความรู้ความเข้าใจ โรคไข้เลือดออก

 

150 0

2. มอบทรายอะเบทให้กับตัวแทนหมู่บ้าน/อสม.เพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะ ใส่น้ำในครัวเรือน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

มอบทรายอะเบทให้กับตัวแทนหมู่บ้าน/อสม.เพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะ ใส่น้ำในครัวเรือน

  • จัดกิจกรรมสุ่มตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย อสม ผู้นำชุมชน และประชาชนตัวแทนหมู่บ้าน จำนวน 40 คน ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชนตัวแทนหมู่บ้าน พร้อมกันรับมอบทรายอะเบท หมู่บ้านละ 1 ถัง
  • ผู้นำชุมชน อสม. และ ชาวบ้านร่วมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย
  • คณะกรรมการ (อสม ผู้นำชุมชน และประชาชนตัวแทนหมู่บ้าน ) ลงพื้นที่หมู่ที่ 4 ม8 และ ม.13 สุ่มตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  • สรุปผลการดำเนินงานผ่านไลน์ หมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (out put)
- มีการมอบทรายอะเบทให้ หมู่บ้าน ๆละ 1 ถัง
- มีการรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะ ใส่น้ำในครัวเรือนและจัดกิจกรรมสุ่มตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
- มีคณะกรรมการ สุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย ประกอบด้วย อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชน  ตัวแทนหมู่บ้าน  หมู่ที่  4 บ้านต้นสน หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ และ หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน จำนวน 40 คน
ผลลัพท์ (outcome)
1.มีการสุ่มตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หมู่บ้าน  หมู่ที่ 4 บ้านต้นสน หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ และ หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : จำนวนและอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
0.00

 

2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
ตัวชี้วัด : ดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( HI CI ) ลดลง
0.00

 

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
ตัวชี้วัด : ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 190
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 190
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (2) เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย (3) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก (2) มอบทรายอะเบทให้กับตัวแทนหมู่บ้าน/อสม.เพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะ ใส่น้ำในครัวเรือน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 66-L3330-1-7

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางจินดาพัฒน์ แม่ลิ่ม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด