กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนสะอาด ปลอดขยะ ปลอดโรค (โรงเรียนบ้านนาแก้ว)
รหัสโครงการ 66-L5287-2-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านนาแก้ว
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 15 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 10,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุวัฒน์ คลังข้อง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 15 ก.ย. 2566 10,700.00
รวมงบประมาณ 10,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 112 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเพิ่มของขยะที่เป็นปัญหาใหญ่ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดทั้งในระดับจุลภาคและมหาภาค กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้สนับสนุนการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2556 จนถึงปัจจุบัน นั้น ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ดีอีกโครงการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้สถานศึกษาทั่วประเทศดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำขยะมาใช้ประโยชน์ รวมถึงการรวบรวมขยะ เองส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสำนึก การลด คัดแยกขยะ และนำกลับมาใช้ใหม่ในสถานศึกษาสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  หากผู้เรียนซึ่งเป็นเยาวชนของชาติมีความรู้ ความเข้าใจ และช่วยกันลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทางโดยอาจใช้หลัก 3 RS ซึ่งได้แก่การลดปริมาณขยะ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างพอเพียง จำทำให้เป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อมุ่งสู่โรงเรียนปลอดขยะอย่างแท้จริง และขยายต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิล
  โรงเรียนบ้านนาแก้ว ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาขยะ จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนสะอาด ปลอดขยะ ปลอดภัย ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วได้รับความรู้และมีทักษะในการจัดการขยะ การลด การใช้ซ้ำและคัดแยกนำกลับมาใช้ประโยชน์ (3Rs)

นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วร้อยละ 80 ได้รับความรู้และมีทักษะในการจัดการขยะ การลดการใช้ซ้ำและคัดแยกนำกลับมาใช้ประโยชน์ (3Rs)

80.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วได้เพิ่มพูนทักษะ การฝึกทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ

นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วร้อยละ 80 ได้เพิ่มพูนทักษะ การฝึกทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ

80.00
3 3. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วได้รับความรู้และมีทักษะในการจัดการขยะอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่โรงเรียน

นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วร้อยละ 80 ได้รับความรู้และมีทักษะในการจัดการขยะอินทรีย์อย่างมีประสิทธภาพและเกิดประโยชน์แก่โรงเรียน

80.00
4 4. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วสามารถรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดทรัพยากรธรรมชาติได้

นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วร้อยละ 80 สามารถรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ การอนุรักษ์ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นต้น)

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 336 10,700.00 0 0.00
11 เม.ย. 66 กิจกรรมการลด การใช้ซ้ำ และคัดแยกนำกลับมาใช้ประโยชน์ (3Rs) 112 4,650.00 -
11 เม.ย. 66 กิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่โรงเรียน (อบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ) 112 3,025.00 -
11 เม.ย. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 112 3,025.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วได้รับความรู้และมีทักษะในการจัดการขยะ การลด การใช้ซ้ำ และคัดแยกนำกลับมาใช้ประโยชน์ (3Rs)
  2. นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วได้เพิ่มพูนทักษะ การฝึกการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ
  3. นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วได้รับความรู้และมีทักษะในการจัดการขยะอินทรีย์ ย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่โรงเรียน
  4. นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้วสามารถรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดการทรัพยากรธรรมชาติในโรงเรียน (การประหยัดนำ้ ประหยัดไฟ การอนุรักษ์น้ำ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นต้น) ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2566 09:52 น.