กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สัมผัสอาหาร
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน อบต.วังใหญ่
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 22 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 84,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศศิ รังษีสว่าง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด
50.00
2 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย
50.00
3 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)
50.00
4 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนจากการปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด จากผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องในระหว่างเตรียม - ปรุง - ประกอบอาหาร หรือขาดการควบคุมดูแลสถานประกอบกิจการให้ได้มาตรฐาน ถูกสุขลักษณะตามกฎหมายและข้อกำหนดของท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหารได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารยังเป็นผู้มีบทบาทเลือกวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ มาให้ผู้บริโภคได้รับประทานอีกด้วย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการ จัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ. 2561 หมวด 1 ข้อ 4 ผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่เข้ารับการอบรมและจัดให้ผู้สัมผัสอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารของตนเข้ารับอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดในประกาศนี้ ด้วยเหตุนี้ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี ในฐานะหนึ่งในหน่วยงานผู้จัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารตามประกาศข้างต้น จึงขอจัดทำโครงการอบรมความรู้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารตำบลยาบี บูรณาการร่วมกับสาธารณสุขอำเภอหนองจิก” ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการจัดหา ประกอบ ปรุงอาหาร และให้บริการแก่ผู้บริโภคนั้น ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร และเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ไปสู่ผู้บริโภค พร้อมทั้งผู้สัมผัสอาหารมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี และผู้บริโภคเองก็ได้บริโภคอาหารจากร้านที่ผู้ประกอบการมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร ผู้ประกอบกิจการมีการควบคุมดูแล บริหารจัดการ และพัฒนาสถานประกอบกิจการให้ได้มาตรฐาน ถูกสุขลักษณะตามข้อบัญญัติแห่งกฎหมาย ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลยาบี พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวได้รับการบริโภคอาหารและน้ำที่สะอาด ปลอดภัย จากสถานประกอบกิจการที่ได้มาตรฐาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

50.00 30.00
2 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

50.00 70.00
3 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

50.00 60.00
4 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

50.00 30.00
5 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุงและประกอบอาหาร ได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุงและประกอบอาหาร ได้อย่างถูกต้อง

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 84,100.00 0 0.00
8 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเจ้าหน้าที่วางแผนงาน และสำรวจผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารในพื้นที่ตำบลวังใหญ่ 0 500.00 -
1 มิ.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการตลาดปลูกผักปลอดสารพิษ (ถนนกินได้) 0 30,000.00 -
5 - 6 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร 0 53,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง – ประกอบอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
  2. ผู้ประกอบกิจการมีการปรับปรุงและยกระดับสถานประกอบการด้านอาหารให้ได้มาตรฐาน ตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร
  3. ประชาชนทั่วไป (ผู้บริโภค) ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปลอดโรค และมีสุขภาพที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2566 12:28 น.