กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรอบรู้ ป้องกันโรคไม่ติดต่อ (รพ.สต.เกาะแต้ว)
รหัสโครงการ 66-L5213-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะแต้ว
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนันทา แก้วพิทยานนท์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะแต้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.638place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 25,000.00
รวมงบประมาณ 25,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา “ความรอบรู้ด้านสุขภาพ” (Health Literacy) เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวข้องในชีวิตและพัฒนาขีดความสามารถในระดับบุคคลเพื่อการธำรงรักษาสุขภาพตนเองอย่างยั่งยืน เนื่องจากการพัฒนาให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถของประชาชนทั้งที่เกี่ยวข้องกับ 1) การใช้บริการ 2) การสื่อสารระหว่างการใช้บริการ แลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพของตนเองร่วมกับผู้ให้บริการ และ 3) การนำข้อมูลไปใช้เมื่อต้องตัดสินใจในชีวิต สามารถคาดการณ์ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ และกำหนดเป้าประสงค์ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ อันจะส่งผลต่อการจัดการโรคเรื้อรังที่กำลังเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน (อายุ15-59 ปี) ที่เป็นกำลังหลักสำคัญของประเทศในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับรัฐ ซึ่งถ้าประชาชนวัยทำงานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง จะทำให้สุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้ ทำให้มีศักยภาพในการสร้างงาน สร้างรายได้และสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) เป็นทักษะต่างๆ ทางการรับรู้และทางสังคมซึ่งเป็นตัวกำหนดแรงจูงใจและความสามารถของปัจเจกบุคคลในการที่จะเข้าถึง เข้าใจและการใช้ข้อมูลในวิธีการต่างๆ เพื่อส่งเสริมและบำรุงรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ เป็นทักษะที่มีความจำ เป็นสำหรับบุคคลใน การดูแลสุขภาพของตนเอง
จากการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพหมู่ที่ 2 บ้านสามกอง ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลาในปี 2560 โดยรับสมัครกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปี ทำการศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส. จำนวน 50 รายก่อนร่วมโครงการฯ ใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ในกลุ่มวัยทำงาน จากกองสุขศึกษา ปี 2558 ผลการศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้แปรผลได้ว่าเป็นผู้มีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพที่เพียงพอและอาจะมีการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ.2ส. ได้ถูกต้องบ้างแต่ยังขาดความยั่งยืน จึงได้นำข้อมูลดังกล่าวสู่การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาสู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพ เป็นเวลา 3 เดือน หลังการดำเนินโครงการฯ พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมากและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. อยู่ในระดับดีมาก ประชาชนมีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีได้ดูแลกัน ลดต้นทุนในการดูแลสุขภาพ ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ (รายงานการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ รพ.สต.เกาะแต้ว, 2560) การดำเนินงานชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดำเนินการมาต่อเนื่อง มุ่งหวังให้ประชาชนลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การมีสุขภาวะที่มีมีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับดีมากขึ้นไปจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะแต้ว จึงของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเกาะแต้วเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ ป้องกันโรคไม่ติดต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ ป้องกันโรคไม่ติดต่อ ให้กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

ส่งเสริมความรอบรู้ ป้องกันโรคไม่ติดต่อ ให้กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

2 2. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมความรอบรู้ ป้องกันโรคไม่ติดต่อไม่น้อยกว่า 4 เครือข่าย

ภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมความรอบรู้ ป้องกันโรคไม่ติดต่อไม่น้อยกว่า 4 เครือข่าย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการส่งเสริมความรอบรู้ ป้องกันโรคไม่ติดต่อ ให้กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้เพิ่มขึ้น
  2. มีภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมความรอบรู้ ป้องกันโรคไม่ติดต่อ
  3. ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ลดภาวะเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ
  4. สร้างการแสการส่งเสริมความรอบรู้ ป้องกันโรคไม่ติดต่อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2566 14:30 น.