กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตระหนักรู้ ตระหนักคิด พิชิตโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 66-L8367-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 6 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 29,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์หมัด หีมเหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ย. 2566 29,250.00
รวมงบประมาณ 29,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายขาดความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
0.00
2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มมากขึ้น
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกและประเทศไทย พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ300,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลก สาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก
      ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของ โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลจะนะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการผู้ป่วยนอก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จัดอยู่ในอันดับที่ 1 และ พบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี และพบจำนวนน้อยในช่วงอายุ น้อยกว่า40 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จากข้อมูล 3 ปี ย้อนหลัง (ฐานข้อมูล HDC สงขลา) ของตำบลบ้านนา ในปี2563 ผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 3,560 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.63 พบกลุ่มเสี่ยงสูง 244 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.85 สงสัยป่วยเป็นโรครายใหม่ 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.46 ในปี 2564 ทั้งหมด 2,413 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.56 พบกลุ่มเสี่ยงสูง 112ราย คิดเป็นร้อยละ 4.64 สงสัยป่วยเป็นโรครายใหม่ 60 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.49 ในปี 2565 ทั้งหมด 2,464 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.84 พบกลุ่มเสี่ยงสูง 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.38 สงสัยป่วยเป็นโรครายใหม่ 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.39 ส่วนโรคเบาหวานได้รับการคัดกรอง ในปี 2563 ทั้งหมด 4,377 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.68 พบกลุ่มเสี่ยงสูง 709 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.20 สงสัยป่วยเป็นโรครายใหม่ 57 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.3 ในปี 2564 ทั้งหมด 3,072 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.91 พบกลุ่มเสี่ยง 298 คิดเป็นร้อยละ 9.70 สงสัยป่วยเป็นโรครายใหม่ 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.88 จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่ากลุ่มเสี่ยงในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรครายใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โรคเรื้อรังดังกล่าวสามารถป้องกันได้ โดยการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ตามบริบท ส่งผลให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่องยั่งยืน       กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการตระหนักรู้ ตระหนักคิด พิชิตโรคเรื้อรัง พื้นที่เทศบาลตำบลบ้านนา ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มากกว่าร้อยละ 90

2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 80

3 เพื่อให้ อสม. มีความรู้ ทักษะการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อหาค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างถูกต้อง

อสม. มีทักษะการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อหาค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100

4 เพื่อสร้างบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างน้อย 5  คน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2566 09:24 น.