กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต. น้ำผุด
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 125,796.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ก.ย. 2566 29 ธ.ค. 2566 125,796.00
รวมงบประมาณ 125,796.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ในปัจจุบันปัญหาขยะ เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ซึ่งยากที่จะแก้ไขและสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ส่วนมากแล้วจะทิ้งลงข้างทางบ้าง หรือทิ้งลงตามแม่น้ำลำคลองบ้างและสำหรับการทิ้งขยะลงแม่น้ำจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไป ไม่รู้จักการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ คสช.ได้กำหนดให้ขยะเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นการสนองนโยบายและการแก้ไขปัญหาขยะ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด จึงต้องสร้างจิตสำนึกของการห้ามทิ้งขยะโดยปลูกฝังให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไปพร้อมทั้งจัดหาวิธีการดำเนินการจัดการเกี่ยวกับขยะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากการคัดแยกขยะมีประโยชน์มาก พร้อมกับเสนอวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการจัดการขยะที่ถูกต้อง ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในหลายๆด้าน และมีลักษณะคล้ายกันเกือบทั่วประเทศ ทำให้เกิดมลพิษทางดิน น้ำ และอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและพาหนะนำโรค ทำลายทัศนียภาพ อีกทั้งก่อให้เกิดเหตุรำคาญเกิดปัญหาเรื่องกลิ่น แมลงรบกวนในชุมชน ปัญหาด้านขยะมูลฝอยเกิดขึ้นกับชุมชนทุกแห่ง ทั้งเมืองขนาดเล็ก ถึงเมืองใหญ่ในตัวจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้กระทั้งในชุมชนเอง ตำบลน้ำผุดก็เป็นอีกหมู่บ้านที่ประสบกับปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการแบบเดิม ๆ คือ การฝั่งกลบและเผากลางแจ้ง ซึ่งเป็นวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปนเปื้อนของมลพิษต่อดิน แหล่งน้ำ ที่สำคัญกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและแหล่งพาหนะนำโรค ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการบริหารจัดการขยะชุมชนตั้งแต่ต้นทาง คือ ครัวเรือน โดยการคัดแยกขยะอินทรีย์ (ขยะที่สามารถย่อสลายได้เองในธรรมชาติ) และขยะเปียก หรือขยะที่มาจากเศษอาหาร ออกจากขยะทั่วไป ซึ่งเป็นการสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการแก้ไขปัญหาขยะที่เป็นวาระแห่งชาติได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งให้นำหลัก 3Rs (Reduce Reuse และRecycle) มาใช้ในพื้นที่เพื่อเป็นแนวทางการจัดการขยะต้นทางเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย การลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนในระดับท้องถิ่น ดังนั้น เพื่อสนองนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น “เรื่องถังขยะเปียกลดโลกร้อน” นั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด จึงได้จัดโครงการถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนตำบลน้ำผุด ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน

0.00
2 2. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชน ในการคัดแยกขยะครัวเรือนที่ต้นทาง

ประชาชน มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะครัวเรือนตั้งแต่ต้นทาง

0.00
3 3. เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน

เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน

0.00
4 4. เพื่อให้ครัวเรือนและชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

ครัวเรือนและชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

0.00
5 5. เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ชุมชน ที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

ลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ชุมชน และแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 125,796.00 0 0.00
1 ม.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ เตรียมสถานที่ 0 0.00 -
1 เม.ย. 66 - 29 ธ.ค. 66 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวิธีคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน , ประโยชน์ของขยะเปียก แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความตระหนักในการคัดแยกขยะปียกและนำขยะเปียกไปใช้ประโยชน์ 0 95,796.00 -
1 เม.ย. 66 - 29 ธ.ค. 66 กิจกรรมสาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน 0 30,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
  2. ประชาชน มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะครัวเรือนที่ต้นทาง
  3. เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
  4. ครัวเรือนและชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
  5. ลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ชุมชน ที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2566 16:01 น.