กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)
รหัสโครงการ 66-L4131-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 21,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอฟฟาน แปแนะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุนิสา ยี่สุ่นทรง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน แม้การแพทย์จะสามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆมากมาย ทำให้ประชากรโลกรอดพ้นจากการเจ็บป่วยเหล่านั้นและมีอายุที่ยืนยาว แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเรียกรวมกันว่า เมตะบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วน เพราะอุปนิสัยการกินอยู่ที่เปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน กินอาหารที่มีไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นตัวนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2565 จึงได้มีการตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านอัยเยอร์เวง อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,412 ราย เพื่อติดตาม ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยที่เป็นโรค เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราการเกิดโรคใหม่ ซึ่งเดิมผู้ป่วยที่รับการรักษาแล้ว 480 ราย ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจและจากสถิติผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่พบป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ในการลดการเกิดของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดต้องทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งหมดด้วยการรณรงค์วิถีชีวิต ทำให้เกิดความตระหนักในอันตรายของอาหารที่ทำให้เกิดความอ้วนอันตรายของชีวิตที่กินๆนอนๆไม่ขยับเขยี้ยน ไม่ออกกำลังกาย การปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลให้โรคแทรกซ้อนเกิดเร็วขึ้น จากสถานการณ์กลุ่มอายุ 35 ปี ที่ได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2565 พบกลุ่มเสี่ยงป่วย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 249 ราย ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง จึงได้จัดทำโครงการเพื่อให้ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมของการเกิดโรค และสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรค NCD ทุกคน

ร้อยละ 90 ของประชากรกลุ่ม 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง

2 กลุ่มเสี่ยงน้อย กลุ่มเสี่ยงมาก กลุ่มเสี่ยงป่วย ได้รับการติดตาม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการป่วยของโรค NCD

ร้อยละ 100

3 กลุ่มเสี่ยงป่วยมีการลดระดับความเสี่ยลดลง

อัตราผู้ป่วยรายใหม่ โรค NCD ลดลงจากปีที่ผ่านมา

4 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีการรับรู้ความสามารถ การกำกับพฤติกรรม และการดูแลสุขภาพของตนเองในการปรับพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงโรค NCD

กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมตัวเองไม่ให้ป่วยด้วยโรค NCD มีความรู้ในการดูแลตนเอง 3 อ 5 ส ได้อย่างเข้าใจ ติดตามความดันโลหิต ค่าเบาหวาน มีค่าลดลง ตามลำดับ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
8 พ.ค. 66 อบรมการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) 120 21,150.00 21,150.00
รวม 120 21,150.00 1 21,150.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90
  2. กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงป่วย ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเกิดโรค NCD
  3. อัตราการป่วยรายใหม่มีค่าลดลง
  4. กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป มีการตระหนักในการดูแลตนเองไม่ให้เกิดโรค NCD ทุกคน
  5. กลุ่มป่วย ลดอัตราการเกิด Stroke
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2566 11:06 น.