กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการรับประทานอาหารและการใช้ยาบำรุงในหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 66-L4131-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 18,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรอาซีกิน มุซิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุนิสา ยี่สุ่นทรง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยพบว่าอัตราการเกิด ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทั่วโลก คิดเป็นร้อยละ 83.2 ซึ่งพบมากในแถบแอฟริกา อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามลำดับ สำหรับในประเทศไทยพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางคิดเป็นร้อยละ 17.33 ซึ่งใกล้เคียงกับข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะโลหิตจางในเขตสุขภาพที่ 12 ปี 2558 - 2560 คิดเป็นร้อยละ 16.89, 17.33 และ 16.50 (วารสารกระทรวงสาธารณสุข, 2021) จะเห็นได้ว่าต้องได้รับการแก้ไข งานอนามัยแแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง จากข้อมูลแสดงถึงสภาพปัญหาของงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง ปีงบ 2565 พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางทั้งหมด 20 ราย สาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดาเลือกรับประทานอาหารไม่เหมาะสมในช่วงการตั้งครรภ์ และการขาดความตระหนักในการรับประทานยาบำรุงครรภ์ ซึ่งพบได้จากการติดตามผลการตรวจเลือดครั้งที่ 1 และ 2 แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว คือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน เตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจในการวางแผนครอบครัว หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และยาบำรุงครรภ์ และเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง งานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมแม่ ดูแลลูฏ เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอด ดังนั้น การที่จะลดปัญหาภาวะสุขภาพแม่และเด็กของตำบลอัยเยอร์เวงนั้น การดูแลหญิงตั้งครรภ์นั้น ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษตั้งแต่ขรธตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ตั้งแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา การให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนบุคคลที่มีบทบาทในชุมชน เช่น องค์การบริการส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถดูแลอนามัยของแม่และเด็กและอยู๋ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด ตั้งแต่การค้นหาหญิงตั้งครรภ์ การแนะนำให้ไปฝากครรภ์ทุกคน และการคลอดในสถานบริการ ดังนั้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับปัญหาสุขภาพของแม่และเด็ก และเพื่อแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กของตำบลอัยเยอร์เวง ที่สำคัญหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลติดตามโดยชุมชนมีส่วน่ร่วมในการดูแล ตลอดจนการมีกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับหญิงตั้งครรภ์ และเกิดการพัฒนากลุ่มเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านอัยเยอร์เวง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานอนามัยแม่และเด็ก จึงได้จัดทำโครงการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารก ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด สอดคล้องตามนโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้วัยเจริญพันธ์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ เกิดความตระหนักต่อการรับประทานอาหารและยาบำรุงครรภ์

ร้อยละ 60

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจเลือดอย่างน้อย 2 ครั้ง ในช่วงตั้งครรภ์

ร้อยละ 60

3 เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดีลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย และไม่ตายด้วย

หญิงตั้งครรภ์ คลอดปลอดภัย

4 เพื่อกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์มาคลอดในสถานบริการและได้รับการส่งต่ออย่างปลอดภัย

หญิงตั้งครรภ์คลอดโรงพยาบาลทุกคน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 18,050.00 1 18,050.00
3 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 100 18,050.00 18,050.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ เกิดความตระหนักต่อการรับประทานอาหารและยาบำรุงครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 60
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจเลือดอย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอด มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 60 และได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่องโดยอสม. และเครือข่ายสุขภาพ
  3. มารดาและทารก ได้รับการดูแลสุขภาพที่ได้มาตรฐาน ตั้งแต่การตั้งครรภ์ การคลอด และสุขภาพที่ดีตามนโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย และไม่ตายด้วยสาเหตุที่ป้องกันได้
  4. หญิงตั้งครรภ์เกิดการตื่นตัวในการมาคลอดในสถานบริการและได้รับการส่งต่ออย่างปลอดภัย ตลอดจนได้รับการดูแลหลังคลอดตามมาตรฐานการดูแลหลังคลอด ร้อยละ 92
  5. เด็กแรกเกิด - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90
  6. หญิงวัยเจริญพันธ์ มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกทันที เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ และตระหนักถึงการฝากครรภ์
  7. ชุมชนมีระบบการดูแล เฝ้าระวัง อนามัยแม่และเด็กที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
  8. หญิงตั้งครรภ์หลังคลอดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ตกเลือด ซีด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2566 13:54 น.