กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดเสี่ยงลดโรค โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L4115-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและมีการดูแลสุขภาพประชาชน ให้ประชาชนมีสุขภาพดี สามารถเข้าถึงและได้รับการบริการที่มีมาตรฐานตั้งแต่ระดับรากหญ้า โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการติดตามผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเพื่อให้ประชาชนได้รับการเข้าถึงบริการสุขภาพแบบเชิงรุก รวมถึงการเข้ารับบริการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟู หลังการเจ็บป่วย ที่มีให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่ โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไตเรื้อรัง การควบคุมปัจจัยพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมจะสามารถป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ ผลการดำเนินงานในการออกหน่วยบริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ ให้กับประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ของตำบลห้วยกระทิง ในปี ๒๕65 ที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองด้านสุขภาพ จำนวนทั้งสิ้น 1,210 คน พบประชากรที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวนรวม 96 คน(ข้อมูลจาก รพ.สต.ห้วยกระทิง) จากปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิงได้เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหา จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใส่ใจโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปีงบประมาณ 2565โดยมุ่งเน้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง โดยมีกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการที่จะสร้างความรู้ ทัศนคติ ความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก เพื่อสามารถป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานไม่ให้เพิ่มขึ้นในปีต่อๆไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพ(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) ในประชาชนทั้งชายและหญิง ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
  • ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพร้อยละ 20
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและลดปัจจัยในการเกิดโรค ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป

ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น ร้อยละ 70

3 3. ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
12 เม.ย. 66 รณรงค์และประชาสัมพันธ์การตรวจคัดกรอง 0 1,000.00 1,000.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใส่ใจโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 0 9,000.00 9,000.00
รวม 0 10,000.00 2 10,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราการเจ็บป่วยและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ ๒. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องและทันท่วงที ๓. ประชาชนสามารถประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2566 15:39 น.