กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มความรอบรู้ด้านภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ ปีพ.ศ. 2566
รหัสโครงการ 66
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2566 - 20 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เป็นผู้ป่วยที่มีอาการคุกคามต่อชีวิต และความพิการของร่างกาย ต้องการความ ช่วยเหลือและการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน และทันต่อเวลาเพื่อลดการสูญเสียชีวิตและความพิการ เป็นความจำาเป็นพื้นฐานที่รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ความสำคัญของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อยู่ที่การช่วยชีวิตและการรักษาชีวิตให้ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ สามารถลดความสูญเสียและความพิการลงได้และสามารถลดอุบัติการณ์ด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่สามารถป้องกันได้ ลงให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยระบบที่ออกแบบให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านทั้งองค์ความรู้ บุคลากร (ผู้ปฏิบัติการ) และเครื่องมือ มีประสิทธิภาพ อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลเฉพาะที่ใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ปี 2558 -2563 จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน (ITEMS) พบว่า: อัตราการรอดชีวิต ของผู้ป่วยฉุกเฉินทุกประเภทนอกโรงพยาบาล (ณ จุดเกิดเหตุและขณะนา ส่ง) อยู่ระหว่าง ร้อยละ 99.20 –99.70 อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตนอกโรงพยาบาลมีแนวโน้มดีขึ้น ตั้งแต่ปี 2558-2563 จากร้อยละ 98.76เป็น ร้อยละ 99.20     จำนวนการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยฉุกเฉินที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด ปี 2558 -2563 จาก 1,372,223 ราย เป็น 1,770,504 ราย เพิ่มร้อยละ 29 ในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ประมาณ 20% โดยเมื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน กับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่มารับบริการห้องฉุกเฉิน พบว่า สัดส่วนการผู้ป่วยฉุกเฉินที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มารับบริการห้องฉุกเฉินอยู่ในระดับต่ำ ผลการศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่า สัดส่วนผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ห้องฉุกเฉิน มีร้อยละ 19 จากข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่ายังมีความต้องการในระบบที่ยังเข้าไม่ถึงบริการอีกเกือบร้อยละ 80 เนื่องจาก 1) ประชาชนไทยยังมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) อยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานและสัดส่วนประชาชน ที่รับรู้และตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นยังมีสัดส่วนน้อย 2) หน่วยปฏิบัติการอำนวยการระดับพื้นฐาน (ศูนย์รับแจ้งและสั่งการ) ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด ยังไม่ครบถ้วนทุกแห่ง 3) หน่วยปฏิบัติการแพทย์ทุกระดับยังมีไม่เพียงพอ และยังไม่สามารถให้บริการเข้าถึงจุดเกิดเหตุภายใน 8 นาที นับตั้งแต่รับแจ้งเหตุ 4) ขาดแคลนกำลังด้านการแพทย์ฉุกเฉินนอก รพ. พบว่ามีการขาดแคลนผู้ปฏิบัติการทุกระดับ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติการที่สนับสนุนปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูงที่ต้องช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ เห็นความสำคัญของความรอบรู้ด้านภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ของประชาชนในพื้นที่ จึงจัดทำโครงการเพิ่มความรอบรู้ด้านภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ ปีพ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่บริการมีความรอบรู้ด้านภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ มีทักษะด้านภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ สามารถเข้าถึงระบบริการได้ทันต่อเวลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านภาะฉุกเฉินทางการแพทย์ ข้อที่ 2. เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เข้าถึงระบบบริการได้ทันต่อเวลา

ข้อที่ 1 ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรอบรู้ด้านภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ข้อที่ 2 ร้อยละ 60 ของประชาชนที่มีภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ สามารถเข้าถึระบบการได้ทันต่อเวลา ข้อที่ 3 อัตราการเสียชีวิตและพิการจากภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 155 30,000.00 0 0.00
15 พ.ค. 66 1.1 กิจกรรมย่อย : ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำและแกนนำชุมชน จำนวน 50 คน 50 1,500.00 -
17 พ.ค. 66 3.2 กิจกรรมย่อย : คืนข้อมูลผลการดำเนินโครงการให้กับชุมชน 0 0.00 -
18 พ.ค. 66 1.2 กิจกรรมย่อย : รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
19 พ.ค. 66 1.3 กิจกรรมย่อย : ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
29 พ.ค. 66 2.1 กิจกรรมย่อย : อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ 55 27,000.00 -
14 ส.ค. 66 2.2 กิจกรรมย่อย : ประเมินศักยภาพ แกนนำและครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
8 ก.ย. 66 3.1 กิจกรรมย่อย : ถอดบทเรียนเพื่อร่วมหาแนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง 50 1,500.00 -
14 ก.ย. 66 3.2 กิจกรรมย่อย : คืนข้อมูลผลการดำเนินโครงการให้กับชุมชน 0 0.00 -
20 ก.ย. 66 3.2 กิจกรรมย่อย : สรุปโครงการ และเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ มีความรอบรู้ มีทักษะด้านภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ สามารถเข้าถึงระบบริการภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ทันต่อเวลา อัตราการเสียชีวิตและพิการจากภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2566 22:26 น.