กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อที่นำโดยแมลง ตำบลกาบัง ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 020
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 23,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงในปัจจุบันเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคไข้มาลาเรีย โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ในแต่ละปีจะมีประชาชนป่วยเป็นจำนวนมาก เพราะการติดต่อและแพร่ระบาดของโรครวดเร็วขึ้น และมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนในแง่การเจ็บไข้ได้ป่วย การพิการและการเสียชีวิตของประชาชน เนื่องจากความรุนแรงของโรค ซึ่งประชาชนมีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและภัยสุขภาพด้วยกันทุกคน ปัญหาด้านสาธารณสุขในปัจจุบันเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่ นับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยพื้นที่ในจังหวัดยะลา มีแนวโน้มในการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นกลวิธีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การควบคุมยุงพาหะนำโรคไม่ให้มี หรือมีน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้น ให้ชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ มีความตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคนี้ หากมีการระบาดเกิดขึ้นในชุมชน จะต้องรู้อย่างรวดเร็ว และลงมือควบคุมโรคทันที โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน ให้ได้ครอบคลุม สำหรับข้อมูลสถานการณ์โรคติดต่อโดยแมลงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖0 – 31 มีนาคม ๒๕๖6 มีผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2560 จำนวนผู้ป่วย 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 98.54 รายต่อแสนประชากร ,ปี 2561 จำนวนผู้ป่วย 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0 รายต่อแสนประชากร ,ปี 2562 จำนวนผู้ป่วย 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 256.21 รายต่อแสนประชากร ,ปี 2563 จำนวนผู้ป่วย 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 335.04 รายต่อแสนประชากร ,ปี 2564 จำนวนผู้ป่วย 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0 รายต่อแสนประชากร ,ปี 2565 จำนวนผู้ป่วย 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0 รายต่อแสนประชากร,ปี 2566 จำนวนผู้ป่วย 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 54.55 รายต่อแสนประชากร เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงและเมื่อสถานการณ์กลับมาปกติ ก็เริ่มมีการระบาดอีกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังโรคติดต่อที่นำโดยแมลงซึ่งเป็นโรคที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน สร้างผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจการประกอบอาชีพของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายทางภาครัฐด้านการรักษาพยาบาลส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากมายต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศตามลำดับนั้น ดังนั้นการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพนี้ จึงต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อลดผลกระทบจากโรคที่เกิดขึ้นนี้ไม่ให้แพร่กระจาย และไม่ให้เป็นปัญหาในพื้นที่จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา พร้อมทั้งประสานการดำเนินงานให้สามารถควบคุมการระบาดให้สงบได้อย่างรวดเร็วอย่างทันท่วงทีตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับทรัพยากรในชุมชน และเทคโนโลยี เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้น รพ.สต.บ้านบันนังดามา ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและโรคที่นำโดยแมลงซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนและด้านอื่นๆ จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคทั้งในชุมชน และในโรงเรียน ตามนโยบาย แนวทางของจังหวัดยะลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่นำโดยแมลงไม่เกิน 50 /ประชากร 100,000 คน

1.สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่นำโดยแมลง

60.00 50.00
2 2.- ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วย ได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวัง ร้อยละ 100

2.- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลง จนสามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคได้เองอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

40.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 การกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน และโรงเรียน ให้สุขศึกษา และประชาสัมพันธ์ รณรงค์ใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายใน โรงเรียน และ ชุมชน ทุกหลังคาเรือน 0 3,500.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 เพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายในบริเวณที่ที่มีน้ำขังตามสถานที่ต่างๆโดยจัดตั้งไว้ 5 จุด ได้แก่ ที่รพ.สต. , ที่บ้าน MP , ที่บ้านประธาน อสม.ม.1 ม.2 ม.8 0 3,600.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 เพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายในบริเวณที่ที่มีน้ำขังตามสถานที่ต่างๆโดยจัดตั้งไว้ 5 จุด ได้แก่ ที่รพ.สต. , ที่บ้าน MP , ที่บ้านประธาน อสม.ม.1 ม.2 ม.8 0 720.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมพ่นหมอกควันในโรงเรียน ศพด. มัสยิด ตาดีกา ปอเนาะ และชุมชนในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 1,2 และ 8 0 8,000.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมพ่นหมอกควันในโรงเรียน ศพด. มัสยิด ตาดีกา ปอเนาะ และชุมชนในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 1,2 และ 8 และบ้านผู้ป่วย 0 7,200.00 -
รวม 0 23,020.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่นำโดยแมลง 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่นำโดยแมลง จนสามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคได้เองอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566 00:00 น.