กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3067-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บางเขา
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 26,314.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุบล วัฒนศักดิ์ภูบาล
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วัสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยจังหวัดปัตตานีแจ้งว่าปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM 2.5) เกินค่ามาตรฐานขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย อันมีผลกระทบต่อสาธารณชนก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของประชาชน ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองทำให้คนที่อยู่ในที่โล่งนานๆมีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้งระคายคอ หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ซึ่งฝุ่นขนาดเล็กเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ สาเหตุหลักคือการสูบบุหรี่ รองลงมาจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด สถานการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากหลายๆปัจจัย เช่น การขนส่งและการจราจร การเกิดไฟป่า การเผาในที่โล่งแจ้ง การก่อสร้างที่ไม่มีการควบคุมการฟุ้งกระจายของฝุ่น เป็นต้น ปัญหาการเกิดหมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา มาจากปัจจัยหลายๆอย่าง ได้แก่ควันพิษจากโรงงาน การขนส่งและการจราจร และการเผาในที่โล่ง (Open Burning) ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเผาขยะ การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝน การเผาพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการทำการเกษตร นอกจากจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง จากปัจจัยที่กล่าวข้างต้นล้วนก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพกับประชาชน ซึ่งฝุ่นขนาดเล็กเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ สาเหตุหลักคือการสูบบุหรี่ รองลงมาจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด จากข้อมูลด้านสุขภาพอ้างอิงจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา พบว่าอัตราผู้ป่วยเกี่ยวกับทางเดินหายใจในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขาย้อนหลัง 3 ปี มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ในปี 2563 จำนวน 337 ราย ปี 2564 จำนวน 248 ราย ปี 2565 จำนวน 247 ราย ผู้ป่วยไข้หวัด ปี 2563 จำนวน 250 ราย ปี 2564 จำนวน 261 ราย ปี 2565 จำนวน 342 ราย และกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่อาจเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพและอาจเกิดโรคได้ง่าย ได้แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย ด้วยเหตุผลข้างต้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบรหารส่วนตำบลบางเขา จึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อป้องกันและดูแลสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคทางเดินหายใจจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

 

60.00 40.00
2 เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง มีความเข้าใจ เกิดการตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

 

40.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,314.00 2 26,314.00
1 มี.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 อบรมให้ความรู้ 0 17,736.00 17,736.00
1 มี.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 เดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์ 0 8,578.00 8,578.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถป้องกันการเกิดโรคทางเดินหายใจจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
2.ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง มีความเข้าใจ เกิดการตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566 14:11 น.