กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs (หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะชุมชน)
รหัสโครงการ 66-L5299-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 60,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาริดา นุ้ยดำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.546,99.706place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 มาตรา 22 (3) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้มีและรักษาทางระบายน้ำ และรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16(18) ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ในการกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางโดยมุ่งเน้นการใช้หลักการ 3Rs (ใช้น้อย, ใช้ซ้ำ และแปรรูปมาใช้ใหม่) มุ่งเน้นการจัดการขยะต้นทางในชุมชน นอกจากนี้ขยะยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง, หนู, แมลงสาบ เป็นต้น ซึ่งเป็นบ่อเกิดการเกิดโรคติดต่อในคนและสัตว์     ปัจจุบันมีอัตราการเพิ่มของปริมาณขยะจากครัวเรือน สาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลท่าบอน ซึ่งจะเห็นว่าขยะมูลฝอยมีอัตราเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารมีความสำคัญและจำเป็นทำให้มีวัสดุประเภทพลาสติกเกิดขึ้นมากมาย และมีความหลากหลายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด ถุงพลาสติกทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นทั้งต่อผู้ขายและผู้ซื้อ ในขณะเดียวกันในตัวอำเภอได้มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่ตัวผลิตภัณฑ์เท่านั้นหากยังพ่วงเอาขยะกลับบ้านอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของขยะ     ในปัจจุบันสามารถแบ่งตามองค์ประกอบหลักได้ 4 ส่วน คือ ขยะย่อยสลายได้ร้อยละ 64, ขยะรีไซเคิลร้อยละ 30 ของเสียอันตรายร้อยละ 3 และขยะอื่นๆ ร้อยละ 3 ดังนั้นการจัดการขยะต้นทางเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและยั่งยืนส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นน้อยลง โดยนำแนวทางการลด, ใช้ซ้ำ และแปรรูปใช้ใหม่ (Reduce Reuse Recycle:3Rs) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ เกิดจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการคัดแยกขยะ สามารถนำไปใช้ประโยชน์และนำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในตำบลเกาะสาหร่ายอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะ อินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

นวนถังขยะเปียกของครัวเรือนในพื้นที

2 เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชน กลุ่มอาสาสมัครและผู้นำชุมชนในการคัดแยกขยะครัวเรือนที่ต้นทาง

จำนวนครัวเรือนที่สามารถจัดการขยะเปียกในครัวเรือน

3 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน” และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่

มีแหล่งเรียนรู้ขยะเปียกในชุมชน

4 เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและ บูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชนในพื้นที่หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

มีการใช้งานถังขยะเปียกอย่างประจำ สม่ำเสมอ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะเปียกในครัวเรือน จำนวน 6 รุ่น ๆ ละ 25 คน(1 มิ.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 0.00        
2 จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน(1 มิ.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 0.00        
รวม 0.00
1 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะเปียกในครัวเรือน จำนวน 6 รุ่น ๆ ละ 25 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน     2. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง     3. ปริมาณขยะอินทรีย์ที่เข้าสู่แหล่งกำจัดมีปริมาณลดลง     4. ประชาชนที่ดำเนินการสามารถใช้พื้นที่ที่จัดทำถังขยะเปียกปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้
    1. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ผู้นำชุมชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกในครัวเรือนตนเอง
    2. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกของหมู่บ้าน/ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566 17:17 น.