กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L4141-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 2 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 40,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวขนิษฐา แพมิ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 14 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดมาแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต แต่ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของตำบลลำใหม่ ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ สามี ญาติ ในขณะตั้งครรภ์การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และแม่ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ของมารดาที่ตั้งครรภ์ ส่งผลให้มารดาที่ตั้งครรภ์เจ็บป่วยและคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดมีสุขภาพไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งสาเหตุเกิดอาจเกิดจากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด หญิงตั้งครรภ์ดูแลตนเองในเรื่องโภชนาการอาหารไม่ดีนักในขณะตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการคลอดก่อนกำหนด การมีภาวะทุพโภชนาการของมารดา และปัญหาหญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยและไม่ได้คุมกำเนิดและปัญหาการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ มากกว่า 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ จากสภาพปัญหาการดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา ประกอบกับหนังสือจังหวัดยะลา ด่วนที่สุด ที่ ยล 0023.2/ว 509 ลงวันที่ 18 มกราคม 2566 แจ้งนโยบายของกระทรวงมหาดไทย โดยแจ้งว่า คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ได้ดำเนินโครงกาสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อลดอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนด จึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รับทราบนโยบายและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทยเพื่อขับเคลื่อนการดำเนิน โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 67 (6) และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 มาตรา 16 (10) และ (19) องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และให้ทารกที่คลอดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็น ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบลลำใหม่ ประจำปี พ.ศ.2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละ 100 ของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละ 100 ของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการติดตามประเมินผล(19 เม.ย. 2566-19 เม.ย. 2566) 0.00            
รวม 0.00
1 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 78 40,480.00 0 0.00
19 พ.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการติดตามประเมินผล 18 1,080.00 -
19 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด 60 39,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการคลอดก่อนกำหนดลดลง ร้อยละ 50 จากอัตราการคลอดก่อนกำหนดในปี 2565
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
  3. หญิงตั้งครรภ์คลอดอย่างปลอดภัยและลูกเกิดรอด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2566 10:45 น.