กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอายุ 0 – 5 ปี “วัยจิ๋วกับพัฒนาการรอบด้าน” ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5248-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 31,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริจันทร์พร พลเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 104 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็กปฐมวัยยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะเด็กในวัย แรกเกิด - 3 ปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งการเจริญเติบโต พัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยมีครอบครัวเป็นกลไกหลักในการดูแลและส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโต และพัฒนาการที่สมวัย บิดามารดาและคนในครอบครัวจะต้องมีความรู้ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่เหมาะสม ในขณะที่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำ ส่งผลลัพธ์ทางลบต่อภาวะสุขภาพการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
จากการศึกษาสถานการณ์พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ปี พ.ศ.2563 – 2565 พบว่า เด็กไทยมีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน ร้อยละ 90.19 , 84.84 และ 81.20 (1 ตุลาคม 2564 – 18 กันยายน 2565) (HDC service, 2565) และในจังหวัดสงขลาเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 91.33 , 85.8 และ 77.36 (1 ตุลาคม 2564 – 18 กันยายน 2565) ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลความเสม็ดเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 97.03 , 81.13 และ 89.13 (1 ตุลาคม 2564 – 18 กันยายน 2565) (HDC songkhla, 2565) ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าเด็กที่มีพัฒนาการสมวัยมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ทำให้การเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองพัฒนาการของเด็กทุกกลุ่มวัยมีแนวโน้มลดลง รวมถึงการจำกัดบริเวณการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก จึงทำให้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยนั้นลดลง และไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการฝึกทักษะให้กับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถประเมิน และส่งเสริมพัฒนาการบุตรตามวัย โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านได้ การสร้างความตระหนักรู้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ให้กับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูหลัก จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย จากนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 – 2564 ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ได้กำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะทางสมอง ทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะสังคมที่เหมาะสม โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพใน 4 ด้าน ดังนี้ คือ ด้านโภชนาการและการเจริญเติบโต พัฒนาการ ทันตสุขภาพ และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ, 2563) ดังนั้น โรงพยบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ดมีความคิดเห็นที่จะจัดโครงการเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (วัยจิ๋วกับพัฒนาการรอบด้าน) ตั้งแต่แรกเกิด - ๕ ปี เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความรอบรู้ในการส่งเสริมและเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัย และเป็นการเตรียมความพร้อมของมารดาหรือผู้เลี้ยงดูหลักให้สามารถใช้คู่มือ DSPM ในการประเมินเฝ้าระวัง โดยการสอนฝึกทักษะและส่งเสริมพัฒนาการลูกตามวัย การฝึกทักษะมารดาหรือผู้เลี้ยงดูหลักให้สามารถประเมิน เฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย รวมถึงศึกษาปัญหา อุปสรรคของเจ้าหน้าที่และพ่อแม่ ผู้ปกครองในการประเมินและการใช้คู่มือ DSPM เพื่อให้เด็กไทยมีพัฒนาการสมวัยในทุกๆด้าน พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้มารดาหรือผู้เลี้ยงดูหลักมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย
  1. ระดับความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม มากกว่าร้อยละ 80
2 2. เพื่อให้มารดาหรือผู้เลี้ยงดูหลักมีทักษะและมีความเข้าใจในการประเมิน เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้คู่มือการประเมินการเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (จากการปฏิบัติ)
3 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคของเจ้าหน้าที่และพ่อแม่ ผู้ปกครองในการประเมินและการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะในการประเมินการเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (จากการปฏิบัติ)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมแกนนำอนามัยแม่และเด็ก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อค้นหาปัญหาและวางแผนการดำเนินโครงการ
    1. สำรวจและทำทะเบียนมารดาหรือผู้เลี้ยงดูหลักในพื้นที่
    2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ
    3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการประเมิน เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย แก่มารดาหรือผู้เลี้ยงดูหลัก โดยวิทยากร

- ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ จำนวน 1 ชั่วโมง - ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก 5 ด้าน จำนวน 1 ชั่วโมง - ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการล่าช้าที่ส่งผลต่อการเกิดโรคต่างๆในเด็ก จำนวน 1 ชั่วโมง - ให้ความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือการประเมินเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) จำนวน 1 ชั่วโมง - การปฏิบัติในการใช้เครื่องมือการประเมินเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) จำนวน 2 ชั่วโมง 4. ประเมินผลการดำเนินงาน โดยแบบทดสอบความเข้าใจ ก่อน – หลังการได้รับความรู้
5. รายที่ส่งสัยล่าช้าผิดปกติ ประสานแจ้ง อสม. หรือเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เพื่อนัดหมายการดูแลรับการรักษาต่อ 6. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มารดาหรือผู้เลี้ยงดูหลักมีความรู้ความเข้าใจในการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย
  2. มารดาหรือผู้เลี้ยงดูหลักสามารถใช้คู่มือการประเมินเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ได้
    อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2566 11:45 น.