กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5248-3-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนเสม็ด
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาพ พิทักษ์สุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นอวัยวะที่สำคัญในการประกอบกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การถอด ใส่ กระดุม รูดซิป แปรงฟัน การผูกเชือกรองเท้า การวาดภาพ การเขียน หากเด็กมีการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดีจะส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาให้ดีเยี่ยมมากขึ้น เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กมีส่วนช่วยให้เด็กได้ใช้มือ สำรวจ สังเกต จากการจับต้องสิ่งของในทุก ๆ กิจกรรม ซึ่งการใช้มือหยิบจับสิ่งของอยู่บ่อย ๆ นั้น เป็นการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้เป็นอย่างดีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดีต้องมีการพัฒนาการสอดคล้องสัมพันธ์ไปกับสายตา แขน ขา และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ด้วย ดังนั้นหากกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กมีการพัฒนาล่าช้า หรือผิดปกติ ส่งผลต่อการพัฒนาการอวัยวะส่วนอื่น ๆ สะดุดตามไปด้วย เด็กในช่วงอายุ ๓ - ๕ ปีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กควรเป็นดังนี้ ๐ เด็กวัยอนุบาลต้องควบคุมนิ้วมือ และมือ ได้ดีมากขึ้นเด็กวัยนี้จึงชอบเล่นหรือทำสิ่งต่าง ๆ ที่มีการใช้นิ้วและมือมากยิ่งขึ้น ๐ กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กวัยอนุบาล เป็นสิ่งที่พ่อแม่ และคุณครูต้องช่วยกันพัฒนาด้วยการให้เด็กฝึกกิจกรรม ได้แก่ ร้อยลูกปัด เล่นดนตรี เช่น ตีกลอง ตีระนาด พับกระดาษ ระบายสี วาดภาพ ปั้นดินน้ำมัน เล่นบอล พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กควรเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน หากพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งบกพร่อง อาจทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ บกพร่องตามไปด้วย โดยเฉพาะพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นจุดเริ่มที่สำคัญของพัฒนาการหลาย ๆ ด้าน หากกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงจะส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้เป็นอย่างดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือได้ดีขึ้น

๑  เด็กมีพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือดีขึ้น

2 ๒ เพื่อให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือที่ประสานสัมพันธ์กับสายตา

๒  เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมือที่ประสานสัมพันธ์กับสายตา

3 ๓ เพื่อให้เด็กได้ใช้กล้ามนิ้วมือที่ถูกต้องและเหมาะสมตามวัยของเด็ก

๓  เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมือที่ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

4 ๔ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ถึงวิธีการที่ถูกต้องในการใช้กล้ามเนื้อมือ

๔  เด็กรู้ถึงวิธีการที่ถูกต้องในการใช้กล้ามเนื้อมือ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๗.๑ ประชุมครู ๗.๒ เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๗.๓ ดำเนินงานตามโครงการ ๗.๔ สรุปผลโครงการและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เด็กมีพัฒนาการด้านนิ้วมือที่ดีขึ้น ๒ เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมือและตาที่สัมพันธ์กัน ๓ เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้เหมาะสมตามวัยของเด็ก ๔ เด็กได้เรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องในการใช้กล้ามเนื้อมือ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2566 14:16 น.