สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร
ตามโครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกรประจำปี ๒๕๕๙
หมู่ที่ จำนวน (คน) ไม่ปลอดภัย เสี่ยง ปลอดภัย ปกติ
๑ ๑๐๐ ๔๔ ๔๓ ๑๓ -
๒ ๑๑๕ ๓๓ ๔๕ ๓๖ ๑
๓ ๖๖ ๑๔ ๒๙ ๑๙ ๔
๔ ๒๔๗ ๓๗ ๗๕ ๙๔ ๔๑
๕ ๘๕ ๒ ๒๐ ๔๗ ๑๕
๖ ๙๑ ๓ ๒๕ ๕๓ ๑๐
๗ ๑๑๒ ๖ ๓๙ ๕๓ ๑๖
๘ ๙๕ ๕ ๓๔ ๔๑ ๑๕
๙ ๑๐๐ ๑๐ ๓๑ ๓๙ ๒๐
รวม ๑,๐๑๒ ๑๕๔ ๓๔๑ ๓๙๕ ๑๒๒
คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๒๒ ๓๓.๗๐ ๓๙.๐๓ ๑๒.๐๕
จากตารางผลการตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร จะพบว่า จากกลุ่มประชากรที่ได้รับการตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด ๑,๐๑๒ คน จากประชากรทั้งหมดของตำบลร่มเมืองในจำนวน ๙ หมู่บ้าน คือ ๕,๒๔๗ คน โดยกลุ่มที่เข้ารับการตรวจวิเคราะห์จะอยู่ในช่วงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งจะเห็นว่าในโครงการตั้งเป้าหมายในการตรวจวิเคราะห์ไว้ ๙๐๐ คน ด้วยความสมัครใจ แต่เมื่อเริ่มโครงการจนเสร็จสิ้นกลับมีประชาชนให้ความสนใจในการหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกินเป้าหมาย นั่นคือ คิดเป็น ร้อยละ ๑๑๒.๔ นั่นคือประชาชนเริ่มให้ความสำคัญและตระหนักในการตรวจสอบ ติดตาม สุขภาพของตนเองเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ จะยังคงพบว่าผลการตรวจสารพิษตกค้างในเลือดกลุ่มสารพิษโคลีนเอสเตอเรส ที่มีผลไม่ปลอดภัยรวมกับผลที่เสี่ยง มีจำนวน ๔๙๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๙ ในขณะที่ผลของกลุ่มปกติและกลุ่มปลอดภัย มีจำนวน ๕๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๑ จะเห็นว่ามีผลที่ใกล้เคียงกันมาก ดังนั้น จึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นชุดหนึ่งที่จะต้องมีการส่งเสริม พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
แผนภูมิแสดงผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดโดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส
จากการวิเคราะห์ ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนในตำบลร่มเมืองแสดงให้เห็นว่าประชาชนในพื้นที่หมู่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงโดยเฉพาะหมู่ที่ ๑ , ๒ และ ๓ ซึ่งสาเหตุอาจมาจากพฤติกรรมการบริโภค และการใช้สารเคมีในการปลูกพืชผักอันจะนำไปสู่การเกิดโรคได้ เช่นโรคมะเร็งและโรคอื่นๆตามมาส่วนประชาชนในพื้นที่ ม.๕, ๖, ๗, ๘ และ ๙ จะมีความเสี่ยงน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าประชาชนทั้ง ๕ หมู่นั้น เอาใจใส่กับพฤติกรรมการบริโภคและการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน
ปัญหาและอุปสรรค
๑. ทีมในการตรวจวิเคราะห์มีจำนวนจำกัดนั่นคือ ๒ ท่าน ต่อ ๑ ชุดการตรวจ ทำให้ทีมทำงานมีภาวะล้าของนิ้วที่ทำการหัก tube เพื่อนำเซรั่มออกมา
๒. ปริมาณของเลือดที่เจาะมาเพื่อตรวจวิเคราะห์มีปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการตรวจหา
๓. ชุดทดสอบกระดาษที่ใช้ตรวจหาสารโคลืนเอสเตอเรส มีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการรับตรวจของประชาชน
ข้อเสนอแนะ
๑. ควรเพิ่มจำนวนทีมทำงานในภาคสนามเพื่อการปฏิบัติการตรวจหาสารโคลีนเอสเตอรเรส จาก ๒ คน เป็น ๓ – ๔ คน เพื่อช่วยในการจับเวลา และตรวจสอบการอ่านผล
๒. ควรมีการเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
๓. ควรนำชุดข้อมูลผลการตรวจไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนางานสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน